Dove
Dove Ultimate White Deodorant Spray
Description
-
How to use
-
Ingredients
-
Suggestion
-
Benefit( ผลลัพธ์หลังการใช้ )
1.0 Vote(s)
5
2.0 Vote(s)
5
0.0 Vote(s)
5
0.0 Vote(s)
5
0.0 Vote(s)
5
0.0 Vote(s)
5
0.0 Vote(s)
5
0.0 Vote(s)
5
0.0 Vote(s)
5
Details Product
-
you might also like

มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบอุบัติการณ์มาก อันดับแรกในหญิงไทยและหญิงทั่วโลก สามารถพบโรคนี้ ได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย จากการรณรงค์การตรวจ ปัจจุบันใช้การตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีการถ่ายภาพรังสีเต้านม (mammogram) ทำให้แพทย์ สามารถวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ระยะแรก บทความโดย นพ.สุพจน์ สุไพบูลย์พิพัฒน์ ฟรี ปรึกษาอาหารเสริม เครื่องสำอางและความงาม ตามหลักการแพทย์โดยเภสัชกร ได้ที่ Facebook : GURUCHECK เช็ค กับ กูรู เช็ค ...อาการของมะเร็งเต้านม พบก้อนที่เต้านมหรือที่รักแร้ บ่อยครั้งสาเหตุที่คนไข้มาหาหมอ มาจากก้อนที่เต้านมเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมา คือ อาการเจ็บเต้านม ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจซ้ำหรือส่งตรวจทางรังสีเพิ่มเติม ลักษณะเต้านมเปลี่ยนแปลงไป รูปทรงและขนาดของเต้านมเปลี่ยนไปจากเดิม อาจพบผิวหนังที่เต้านมบุ๋มลงไปคล้ายลักยิ้ม มีน้ำเหลืองหรือน้ำเลือดไหลออกจากหัวนม ลักษณะหัวนมที่เปลี่ยนแปลงไป สีหรือผิวหนังบริเวณลานหัวนมที่เปลี่ยนไปจากเดิม หัวนมที่เคยปกติกลายเป็นหัวนมบอด อาจเกิดจากมีก้อนเนื้อมะเร็งใต้หัวนม ที่ลุกลามไปที่ท่อน้ำนมและดึงรั้งหัวนมให้บุ๋มลง อาจมีแผลที่หัวนมและรอบหัวนม เจ็บผิดปกติที่เต้านมหรือที่รักแร้ เช็ค ...สาเหตุของมะเร็งเต้านม ในปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปแน่นอนถึงสาเหตุของมะเร็งเต้านม แต่พบปัจจัยเสี่ยงที่ส่งเสริมให้เกิดโรคได้มากขึ้น ดังนี้ อายุ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดต่อการเป็นมะเร็งเต้านม ยิ่งอายุมากขึ้นโดยผู้หญิงวัย 60 ปีขึ้นไป ยิ่งมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมสูง เพศ มะเร็งเต้านมจะพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย- พันธุกรรม มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่า 2 คน มีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้สูงกว่าผู้หญิงที่ไม่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งชนิดนี้ เคยมีประวัติเป็นมะเร็งเต้านมหรือซีสเต้านมชนิดที่เริ่มผิดปกติมาก่อน ผู้ป่วยที่เคยเป็นมะเร็งเต้านมข้างใดข้างหนึ่งมาก่อนมีโอกาสในพัฒนาการเกิดมะเร็งกับเต้านมอีกข้างมากขึ้น หรืออาจเกิดกับเต้านมข้างเดิมได้เช่นกัน มีช่วงอายุของการมีประจำเดือนนาน เริ่มมีประจำเดือนมาครั้งแรกตั้งแต่อายุยังน้อย และหมดประจำเดือนช้า(ผู้ที่มีประจำเดือนก่อนอายุ 12 ปี หรือหมดประจำเดือนหลังอายุ 55 ปี) เชื้อชาติ พบในคนเชื้อชาติในประเทศตะวันตกมากกว่าเอเชีย พฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปนเปื้อนกับสารเคมี หรือพฤติกรรมที่ทำร้ายสุขภาพ เช่น การสูบบุหรี่ ไม่ออกกำลังกาย กินอาหารไขมันสูง เป็นต้น การใช้ฮอร์โมนเพศหญิงทดแทนหลังหมดประจำเป็นเวลานาน เช็ค ...การวินิจฉัยมะเร็งเต้านม การวินิจฉัยด้วยตนเอง สามารถทำได้โดยการมองด้วยตาเปล่าเพื่อดูลักษณะที่ผิดปกติและการคลำ สามารถตรวจเช็คเต้านมด้วยตัวเองตั้งแต่อายุ 20 ปี ขึ้นไป โดยทำเป็นประจำทุกเดือน การวินิจฉัยโดยแพทย์ เมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไปควรเข้ารับการตรวจเต้านมที่โรงพยาบาล อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ซึ่งมีวิธีการตรวจดังนี้ วิธีที่ 1 การตรวจเต้านมโดยแพทย์หรือบุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรม วิธีที่ 2 การเอกซเรย์เต้านม หรือแมมโมแกรม(Mammogram) ร่วมกับอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound) วิธีที่ 3 การตรวจเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging, MRI) วิธีที่ 4 การเจาะชิ้นเนื้อ (Biopsy) เช็ค ...การรักษามะเร็งเต้านม ทางเลือกในการรักษามะเร็งเต้านมมีหลายวิธี ดังนี้ การผ่าตัด (Surgery) เป็นการรักษาที่แพทย์มักใช้กับผู้ป่วยมะเร็งในระยะเริ่มต้น โดยการผ่าตัดมี 2 วิธี คือ การผ่าตัดแบบสงวนเต้านมไว้ (Partial Mastectomy) และ การผ่าตัดแบบตัดเต้านมออก (Total Mastectomy) การฉายรังสี (Radiation Therapy) การรักษาด้วยเคมีบำบัด (Chemotherapy) การรักษาด้วยการให้ยาต้านฮอร์โมน เช็ค ...การป้องกัน มะเร็งเต้านม สาเหตุการเกิดมะเร็งเต้านมยังไม่แน่ชัด ดังนั้น ควรหมั่นสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายและปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังต่อไปนี้ ควรตรวจเต้านมของตนเองตั้งแต่ 20 ปีเป็นต้นไป และทำเป็นประจำทุกเดือน เมื่ออายุ 40 ปี ขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจเต้านมจากแพทย์หรือพยาบาลอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงควรเข้ารับการตรวจเอกซเรย์เต้านม ประมาณปีละ 1 ครั้ง ระวังเรื่องการได้รับฮอร์โมนติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยเฉพาะผู้ที่จำเป็นต้องได้รับฮอร์โมนเพศหญิงเสริม เช่น ผู้ที่มีปัญหาประจำเดือนหมดหรือการผ่าตัดไข่ออกก่อนเวลาอันควร หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม เช่น หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงสารเคมีที่เป็นโทษต่อร่างกาย เป็นต้น ออกกำลังกายสม่ำเสมอและควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน อ้างอิง 1. BREASTCANCER.ORG. Symptoms of Breast Cancer. Retrieved June 1, 2017, from http://www.breastcancer.org/symptoms/understand_bc/symptoms 2. รศ.นพ.อดุลย์ รัตนวิจิตราศิลป์. เมื่อไร! สงสัยว่าเป็นมะเร็งเต้านม. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2560. จาก http://www.si.mahidol.ac.th 3. BREASTCANCER.ORG. Breast Cancer Tests: Screening, Diagnosis and Monitoring. Retrieved June 1, 2017, from http://www.breastcancer.org/symptoms/testing/types 4.สถานวิทยามะเร็งศิริราช. การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเอง. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2560. จาก http://www.si.mahidol.ac.th/th/division/hph/admin/news_files/496_49_1.pdf 5. นพ.สาธิต ศรีมันทยามาศ. มะเร็งเต้านมกับความเข้าใจผิดที่ผู้หญิงต้องรู้. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2560. จาก https://www.bangkokhospital.com/wattanosoth/web/th/site/all_about_cancer/view/82 6. cancer.gov. (Breast Cancer Prevention (PDQ®)–Patient Version. Retrieved June 1, 2017, from https://www.cancer.gov/types/breast/patient/breast-prevention-pdq 7. ภรณี เหล่าอิทธิ นภา ปริญญานิติกูล. มะเรงเต้านม : ระบาดวิทยา การป้องกันและแนวทางการตรวจคัดกรอง สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2560. จากhttp://www.asianbiomed.org/htdocs/previous/201660497.pdf

บทความโดย ภญ.เยาวธิดา เทพศิริ ฟรี ปรึกษาอาหารเสริม เครื่องสำอางและความงาม ตามหลักการแพทย์โดยเภสัชกร ได้ที่ Facebook : GURUCHECK เช็ค กับ กูรู เช็ค ...สัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณกำลังท้อง 1.ประจำเดือนขาด ในกรณีที่มีสุขภาพปกติ มีประวัติประจำเดือนที่ปกติ หากประจำเดือนขาดนานกว่า 10 วันขึ้นไปหรือประจำเดือนขาดนับจากประจำเดือนครั้งสุดท้ายมากกว่า 45 วัน อาจสันนิฐานว่าเกิดการตั้งครรภ์ได้ 2.มีความรู้สึกไวต่อกลิ่นต่าง ๆ ผู้หญิงที่เพิ่งตั้งครรภ์จะมีความไวต่อการรับกลิ่น โดยเฉพาะกลิ่นของอาหาร อาจทำให้รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียนได้ง่ายเมื่อได้กลิ่นต่าง ๆ มากระตุ้น 3.คลื่นไส้ อาเจียน เป็นอาการที่พบได้บ่อย ในผู้หญิงบางคนก็อาจไม่พบอาการนี้ในช่วงแรกจนกระทั่งเข้าสู่การตั้งครรภ์ในเดือนแรกหรือเดือนที่ 2 4.เจ็บหน้าอก เนื่องจากหน้าอกมีการขยายขนาดคล้ายกับในช่วงประจำเดือนมา เนื่องจากฮอร์โมนที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงการตั้งครรภ์ 5.ท้องอืด ท้องเฟ้อ การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนในขณะตั้งครรภ์ช่วงแรกอาจส่งผลให้เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อยขึ้นได้คล้าย ๆ กับช่วงก่อนประจำเดือนมา ช่วงนี้บางคนอาจรู้สึกเสื้อผ้าแน่นมากขึ้น 6.ปัสสาวะบ่อย การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนภายในร่างกาย ทำให้อัตราการไหลของเลือดเพิ่มขึ้นและไหลผ่านไปยังไตมากขึ้น ทำให้กระเพาะปัสสาวะรับน้ำมามากตามไปด้วย ผู้หญิงตั้งครรภ์จึงรู้สึกอยากเข้าห้องน้ำบ่อยกว่าปกติ 7.เหนื่อยง่าย เพลียง่าย สาเหตุเกิดจากระดับฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนอนมีระดับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงเกิดอาการแพ้ท้องร่วมด้วยทำให้เกิดอาการเพลียง่ายยิ่งกว่าเดิม 8.อารมณ์แปรปรวนง่าย เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย จึงทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวนได้ง่าย เช่น อารมณ์ดี เสียใจ หดหู่ กังวล ซึ่งการแสดงออกทางอารมณ์ในแต่ละคนจะแตกต่างกันออกไป สัญญาณเหล่านี้เป็นแค่อาการเบื้องต้น แต่อาจไม่สามารถบอกได้อย่างชัดเจนว่าเกิดการตั้งครรภ์หรือไม่ หากสงสัยว่าเกิดการตั้งครรภ์หรือไม่ แนะนำให้ใช้ชุดตรวจการตั้งครรภ์เพื่อทดสอบการตั้งครรภ์ เป็นการตรวจด้วยตนเองก่อนไปพบแพทย์ค่ะ อ้างอิงจาก 1.รองศาสตราจารย์นายแพทย์วิทยา ถิฐาพันธ์. อาการไม่สบายตอนท้อง…..เป็นอันตรายไหม?. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2560. จากhttp://www.si.mahidol.ac.th/th/department/obstretrics_gynecology/dept_article_detail.asp?a_id=424 2. Webmd. Pregnancy Symptoms. Retrieved June 12, 2017, from http://www.webmd.com/baby/guide/pregnancy-am-i-pregnant#1 3.American Pregnancy Association. Pregnancy symptoms—Early signs of pregnancy. Retrieved June 12, 2017, from http://www.americanpregnancy.org/gettingpregnant/earlypregnancysymptoms.html