Nature Republic
Nature Republic Aloe Vera 92 Soothing Gel

Description
• อุดมด้วยส่วนผสมจากว่านหางจระเข้สูงถึง 92% ให้ความชุ่มชื่นสู่ผิวได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ช่วยกักเก็บความชุ่มชื่นให้ผิวดูอิ่มน้ำ
How to use
-
Ingredients
-
Suggestion
• สามารถทาได้ทุกส่วน
Benefit( ผลลัพธ์หลังการใช้ )
0.0 Vote(s)
3
0.0 Vote(s)
3
0.0 Vote(s)
3
0.0 Vote(s)
3
0.0 Vote(s)
3
0.0 Vote(s)
3
0.0 Vote(s)
3
0.0 Vote(s)
3
0.0 Vote(s)
3
0.0 Vote(s)
3
0.0 Vote(s)
3
0.0 Vote(s)
3
0.0 Vote(s)
3
0.0 Vote(s)
3
0.0 Vote(s)
3
0.0 Vote(s)
3
Details Product
Aloe Vera 92 Soothing Gel
เจลบำรุงผิว อุดมด้วยคุณค่าจากว่านหางจระเข้ ถึง 92 % เหมาะสำหรับผิวแห้ง และผิวไหม้จากการถูกแสงแดดทำร้าย ช่วยบำรุงผิวให้เนียนนุ่มชุ่มชื่น ช่วยสมานผิวลดอาการแสบร้อน ให้ความรู้สึกเย็นสบายผิว เติมน้ำหล่อเลี้ยงให้ผิวมีความชุ่มชื่นยาวนาน ซึมซาบเร็ว ไม่เหนียวเหนอะหนะ ใช้ได้ทั้งผิวหน้าและผิวกาย เหมาะกับผิวแพ้ง่าย ไม่ผสม พาราเบน มิเนอรัลออย และ ไม่ผสมสีสังเคราะห์
เจลอเนกประสงค์
- สามารถใช้เป็นเจลพอกหน้าเพื่อลดอาการเหนื่อยล้าอิดโรยของผิวโดยสามารถพอกไว้ 15-20 นาทีแล้วล้างออก
- ใช้ทาก่อนแต่งหน้า เพื่อให้เมคอัพติดทนขึ้น หรืออาจจะผสมกับเบสหรือรองพื้น
- ใช้ลดอาการระคายเคืองหลังโกนหนวด
- ใช้เป็นเจลจัดแต่งทรงผม หรือผสมลงในครีมนวดเพื่อบำรุงเส้นผม
- นำสำลีชุบเจลให้ชุ่ม ใช้เป็นมาส์ครอบดวงตาลดอาการบวม และให้ความสดชื่นรอบดวงตา
- ใช้แทน Nail Essence บำรุงเล็บให้แข็งแรง
- ใช้เป็นบอดี้โลชั่น ทาบำรุงผิว หรือทาผิวหลังถูกแดด
- ใช้ร่วมกับ Mask Sheet โดยทา Soothing Gel ให้ชุ่ม มาสก์ แล้วนำมาวางบนใบหน้า
you might also like

บทความโดย ภญ.เยาวธิดา เทพศิริ การตั้งครรภ์ใช้ระยะเวลาทั้งหมด 9 เดือน (40 สัปดาห์ หรือ 280 วัน แต่อาจยาวนานถึง 42 สัปดาห์หรือ 294 วัน) สามารถแบ่งช่วงเวลาของการตั้งครรภ์ออกเป็น 3 ไตรมาส ดังนี้ 1.ไตรมาส 1 หรือ ไตรมาสแรก 2.ไตรมาส 2 3.ไตรมาส 3 หรือ ไตรมาสสุดท้าย ฟรี ปรึกษาอาหารเสริม เครื่องสำอางและความงาม ตามหลักการแพทย์โดยเภสัชกร ได้ที่ Facebook : GURUCHECK เช็ค กับ กูรู เช็ค...พัฒนาการทารกในครรภ์ และอาการผิดปกติของคุณแม่ขณะตั้งครรภ์ 1.ไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ (เดือนที่ 1-3) พัฒนาการของทารกไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์จะเริ่มมีการพัฒนาของตา หู หน่อหรือตุ่มฟัน นิ้วมือ นิ้วเท้า และอวัยวะ ที่จำเป็นในการดำเนินชีวิต เช่น หัวใจ สมอง ตับ ไต ทารกจะเริ่มมีการพัฒนาของอวัยวะเพศซึ่งจะปรากฏให้เห็นลักษณะของเพศในช่วงท้ายของไตรมาสแรก ความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับคุณแม่ช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ เลือดออก - อาจพบอาการเลือดออกเล็กน้อยจากช่องคลอดในช่วงนี้ เนื่องมาจากการฝังตัวของตัวอ่อนในโพรงมดลูก แต่ปริมาณเลือดจะน้อยกว่าประจำเดือนปกติมาก หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า เลือดล้างหน้าเด็ก ท้องผูก - ช่วงนี้จะมีระดับฮอร์โมนโปรเจสเทอโรนที่สูงขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อลำไส้ที่ช่วยในการเคลื่อนตัวของอาหารไปยังลำไส้เล็กทำงานได้ช้าลง อาหารจึงตกค้างในลำไส้นาน ทำให้ ถ่ายออกได้ยาก ตกขาว - หญิงตั้งครรภ์มักจะมีตกขาวมากกว่าปกติ เกิดจากฮอร์โมนเพศหญิงที่มีสูงขึ้น ซึ่งตกขาวปกติจะมีลักษณะเป็นเมือกใสหรือขาวขุ่น ไม่มีกลิ่น ในกรณีที่ตกขาวมีสีเปลี่ยนไป มีกลิ่นเหม็นบูดควรปรึกษาแพทย์ คลื่นไส้อาเจียน - เป็นอาการแพ้ท้องที่พบได้มากถึง 85% อาการแพ้ท้องจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละคน บางคนอาจเป็นมากน้อยไม่เท่ากัน น้ำหนักขึ้น - อาจมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นได้เล็กน้อย แตกต่างกันไปในแต่ละคน อาการแสบร้อนทรวงอก - ร่างกายมีระดับฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนที่สูงขึ้นทำให้กล้ามเนื้อหูรูดบริเวณหลอดอาหารคลายตัว ส่งผลให้ปิดกั้นอาหารหรือกรดได้ไม่สนิท จึงอาจเกิดไหลย้อนกลับเข้าไปในหลอดอาหาร ทำให้เกิดอาการแสบร้อนบริเวณทรวงอกได้ 2. ไตรมาส 2 ของการตั้งครรภ์ (เดือนที่ 4-6) พัฒนาการของทารกไตรมาส 2 ของการตั้งครรภ์ กระดูกของทารกจะเริ่มมีความแข็งเพิ่มขึ้น หูก็จะพัฒนาจนมีลักษณะเป็นหูที่ชัดเจน เริ่มมีขนเล็กๆเกิดขึ้นตามลำตัว ทารกจะเริ่มได้ยินบทสนทนาเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 22 สัปดาห์ และ จะเริ่มฝึกหายใจเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 24 สัปดาห์ ทารกตอบสนองต่อการสัมผัสท้องจากภายนอก ความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับคุณแม่ช่วงไตรมาส 2 ของการตั้งครรภ์ ปวดหลัง -เนื่องจากน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้นทำให้ส่งผลต่อร่างกาย หน้าอกขยายใหญ่ขึ้น - เต้านมจะเริ่มมีการขยายใหญ่มากขึ้น เพื่อช่วยรองรับการให้นมแก่ทารก เลือดออกตามไรฟัน - เกิดจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนของร่างกายจะทำให้มีเลือดมาเลี้ยงบริเวณเหงือกมากกว่าปกติ ส่งผลให้เหงือกบวมและเลือดออกได้ เลือดกำเดาไหล - เกิดการขยายตัวของหลอดเลือดและเส้นเลือดมาเลี้ยงเพิ่มขึ้น การกระทบกระเทือนเล็กน้อยอาจทำให้เกิดอาการเลือดกำเดาไหลได้ง่ายขึ้นกว่าปกติ ผิวแตกลาย - ผิวหนังตามร่างกายเกิดการขยายตัว โดยเฉพาะบริเวณหน้าท้อง ลานนม แขนขา และอาจมีการผลิตเม็ดสีที่มากขึ้น เช่น ใบหน้าเกิดฝ้า หน้าท้องมีเส้นคล้ำ ลานนมและหัวนมมีสีคล้ำขึ้น ลูกดิ้น - ประมาณสัปดาห์ที่ 16-18 คุณแม่จะรู้สึกได้ว่าลูกดิ้น ทำให้มีการกระตุกหรือเกร็งเล็กน้อยบริเวณท้อง 3. ไตรมาส 3 ของการตั้งครรภ์ (เดือนที่ 7-9) พัฒนาการของทารกไตรมาส 3 ของการตั้งครรภ์ ทารกดิ้นบ่อยขึ้น และมีการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นได้ดี เช่น เสียง แสง ต่างๆ อวัยวะภายในจะมีการพัฒนาอย่างสมบูรณ์ ทารกกระพริบตา ปิดตา หันศีรษะได้ กำและแบมือได้ดี ทารกจะมีการหมุนและอยู่ในท่าที่เตรียมพร้อมที่จะคลอดโดยศีรษะทารกจะเคลื่อนเข้าสู่อุ้งเชิงกรานและมักจะอยู่ในท่าคว่ำหน้า ความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับคุณแม่ช่วงไตรมาส 3 ของการตั้งครรภ์ เจ็บท้องหลอก - เป็นอาการเจ็บท้องจากการหดรัดตัวของมดลูกสำหรับคนตั้งครรภ์เพื่อเตรียมตัวสำหรับการคลอด ความรู้สึกจะคล้ายกับการเจ็บครรภ์จะคลอดจริง ๆ แต่จะเจ็บน้อยกว่า ริดสีดวงทวาร - เส้นเลือดจะมีการขยายตัวเพื่อนำเลือดไปเลี้ยงทารกได้มากขึ้นและน้ำหนักตัวคุณแม่ที่เพิ่มแรงดันในร่างกายมากขึ้น จึงทำให้เส้นบริเวณทวารหนักเกิดการขยาย บวม หรือเกิดเส้นเลือดขอดจนกลายเป็นริดสีดวงทวาร หายใจสั้น - เมื่อมดลูกเกิดการขยายตัว ดันอวัยวะด้านบนให้ขยับขึ้นไป ทำให้ปอดเหลือที่น้อยลง ไม่สามารถขยายตัวได้เต็มที่ ทำให้เกิดการหายใจได้ลำบาก ตัวบวม - เกิดการบวม เนื่องจากมีปริมาณน้ำสะสมตามเนื้อเยื่อมากกว่าปกติ อ้างอิงจาก 1.อ.พญ.สุชยา ลือวรรณ. การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาในสตรีตั้งครรภ์.สืบค้นเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2560. จากhttp://www.med.cmu.ac.th/dept/obgyn/2011/index.php?option=com_content&view=article&id=1087:2015-02-22-11-39-05&catid=38&Itemid=480 2. The American Congress of Obstetricians and Gynecologists . How your baby grows during pregnancy. Retrieved June 12, 2017, from http://www.acog.org/Patients/FAQs/Prenatal-Development-How-Your-Baby-Grows-During-Pregnancy 3. Webmd . First Trimester of Pregnancy. Retrieved June 12, 2017, from http://www.webmd.com/baby/guide/first-trimester-of-pregnancy#1 4. Webmd. Second Trimester of Pregnancy. Retrieved June 12, 2017, from

เพื่อนๆเคยสงสัยไหมค่ะ ว่าพุงมาจากไหน จริงๆ แล้วพุงมีหลายแบบนะคะ ไปดูกันค่ะ ว่ามีแบบไหนบ้าง บทความโดย กูรูอ้อมมี้ ฟรี ปรึกษาอาหารเสริม เครื่องสำอางและความงาม ตามหลักการแพทย์โดยเภสัชกร ได้ที่ Facebook : GURUCHECK เช็ค กับ กูรู เช็ค ...คุณมีพุงแบบไหน? ภาพจาก Bellybreak.com 1.spare tyre tummy พุงนุ่มสะสมเป็นชั้นๆ เกิดจากชอบกินของหวาน ขาดการออกกำลังกาย หากงดกินจุบจิบ ลดแป้งลด น้ำตาล งดดื่มแอลกอฮอล์ งดเครื่องดื่มน้ำตาลสูงต่างๆ รับประทานผักสด อาหารสด ออกกำลังกายมากๆสม่ำเสมอ ก็จะช่วยได้ค่ะ 2.stress tummy มีพุงแข็งคล้ายท้องอืดยื่น ช่วงกะบังลม หรือ ใต้ลิ้นปี่ถึงสะดือ สาเหตุหลักเกิดจากคุณเป็นคนทำงานหนัก เอาจริงเอาจัง เครียด กินไม่เป็นเวลาจนระบบลำไส้ผิดปกติ ร่างกายผลิตคอร์ติซอล ที่ทำให้เกิดไขมันบริเวณหน้าท้องให้คลายความเครียด การรับทานอาหารตรงเวลา ไม่นอนดึก ลดคาเฟอีน ออกกำลังกายประเภทโยคะแทนคาดิโอหนักๆจะช่วยลดพุงประเภทนี้ได้ค่ะ 3.little pooch tummy ร่างกายทั่วไปผอม แต่มีพุงสะสมน้อยๆถึงมากช่วงท้องน้อย คุณอาจมีพุงน้อยๆทั้งๆที่เป็นคนแอคทีฟและออกกำลังกายเป็นประจำ แต่เป็นการออกกำลังกายท่าเดิมประจำ การซิทอัพผิดวิธีอาจทำให้กล้ามเนื้อสะสมยื่นได้ ลองเปลี่ยนพฤติกรรมก จากการทานอาหารเดิมๆซ้ำๆที่อาจทำให้ไขมันสะสมโดยไม่รู้ตัว เป็นอาหารเส้นใยสูงผักใบเขียวจะช่วยได้ค่ะ 4.mummy tummy พุงคุณแม่หลังคลอดมดลูกยังไม่เข้าอู่ คุณแม่หลังคลอด อย่าเพิ่งรีบร้อนออกกำลังกายให้ร่างกายเข้าที่ใน 2-3 เดือนนะคะ การออกกำลังกายประเภทเสริมความแข็งแรงกล้ามเนื้อท้องช่วงล่าง รับประทานไขมันที่ดีจากถั่ว มะกอก และ น้ำมันปลาอาจพักผ่อนเล็กน้อยตอนกลางวัน และยืดเส้นสายเล็กน้อยก่อนเข้านอนเพื่อช่วยให้ร่างกายเผาผลาญไขมันได้ดีขึ้นค่ะ 5.bloated tummy หน้าท้องแบนในตอนเช้า แต่ท้องอืด และ เกิดแก๊ส พุงป่องในตอนเย็น ให้ลองสังเกตอาหารที่กินแล้วอึดอัด เช่น พิซซ่า ขนมปัง เค้ก นม เนย ชีส ลองงดแล้วสังเกตว่าระบบย่อย ดีขึ้นรึป่าว ลองปรับเปลี่ยนไปทานอาหารย่อยง่าย เช่น ปลา ผัก รับประทานเป็นเวลามากขึ้น งดมื้อดึก ดื่มน้ำมากๆ และอาจเดินเล่นหลังอาหารเพื่อช่วยระบบย่อย ก็จะช่วยลดพุงแบบนี้ได้ค่ะ อ่านจบแล้วรีบดูพุงตัวเองกันเลย ใช่ไหมหละค่ะ ถ้ารู้แล้วว่าเป็นแบบไหนแล้วก็ลองแก้ไขตามนั้นเลยนะคะ