Purete
Purete Avocado Hair Mark
Description
-
How to use
-
Ingredients
-
Suggestion
-
Benefit( ผลลัพธ์หลังการใช้ )
0.0 Vote(s)
5
0.0 Vote(s)
5
0.0 Vote(s)
5
0.0 Vote(s)
5
0.0 Vote(s)
5
0.0 Vote(s)
5
0.0 Vote(s)
5
0.0 Vote(s)
5
0.0 Vote(s)
5
0.0 Vote(s)
5
Details Product
เพียวเต้ อโวคาโด แฮร์ มาส์ค
มาส์กบำรุงผม ผสานคุณค่าบำรุง 2 ชั้น เพียงคนก่อนใช้
- ชั้นบน คือ Silky Hair Coat สกัดจากน้ำมันมะกอกและอโวคาโด ช่วยรักษารอยแตกของผมแห้งให้เรียบลื่นเงางามยิ่งๆ ขึ้น
- ชั้นล่าง คือ Moisturizer สกัดจากมอนซ์เจอร์ไรเซอร์ และวิตามินบำรุงเส้นผม ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผมจากภายในสู่ภายนอก เพื่อผมเปล่งประกายเงางาม เรียบลื่น ไม่พันกัน
you might also like

บทความโดย ภญ.เสาวณีย์ อินจันทร์ ปวดศีรษะ หรือปวดหัว (Headache) เป็นอาการที่พบบ่อยมากทั้งในเด็กและในผู้ใหญ่ เป็นอาการปวดที่เกิดขึ้นบริเวณศีรษะหรือคอส่วนบน ซึ่งเกิดจากเนื้อเยื่อและโครงสร้างรอบกระโหลกศีรษะหรือสมองเกิดการอักเสบหรือระคายเคือง จนทำให้เกิดอาการปวดขึ้น มีหลายภาวะ ที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ เช่น มีไข้ เครียด อดนอน ยาบางชนิด ความดันสูง ฯลฯ จนถึงโรครุนแรงในสมอง เช่น เนื้องอก เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น ฟรี ปรึกษาอาหารเสริม เครื่องสำอางและความงาม ตามหลักการแพทย์โดยเภสัชกร ได้ที่ Facebook : GURUCHECK เช็ค กับ กูรู เช็ค ... อาการปวดหัว อาการปวดหัวที่พบบ่อย ๆ โดยทั่วไปแล้วมี 4 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้ โรคปวดศรีษะไมเกรน(Migraines) จะปวดเป็นพักๆ ปวดข้างใดข้างหนึ่ง ปวดแบบตุบๆ ติดกันต่อเนื่องเป็นเวลานาน มัก มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ตาพร่ามัว หรือเห็นแสงสีร่วมอยู่ด้วย โรคปวดศรีษะจากความเครียด (Tension headache) ปวดตื้อ ๆ หนัก ๆ ตรงบริเวณต้นคอ หรือท้ายทอย หรืออาจจะปวดรอบศีรษะคล้ายถูกเข็มขัดรัด โรคปวดศรีษะแบบคลัสเตอร์(Cluster headache) อาการปวดรุนแรงแบบข้างเดียว ซึ่งมักจะปวดตุบๆที่กระบอกตา หรือรอบๆ ตา หรือที่บริเวณขมับ และมักจะเป็นข้างเดียว มักจะมีอาการน้ำตาไหลข้างเดียวและมีเส้นเลือดแตกในตา ทำให้เกิดอาการตาแดง โรคปวดศรีษะจากแรงดันในสมองสูง(Increase Intracranial Pressure) อาการปวดศีรษะแบบรุนแรง (ปวดศีรษะร้าย แรง) อาเจียนที่มีลักษณะเฉพาะ คือ จะพุ่งออกมาอย่างแรง (มักไม่ค่อยมีอาการคลื่นไส้นำก่อน) ตาพร่ามัวมองเห็นไม่ชัด มองเห็นภาพซ้อน ถ้าเป็นรุนแรงอาจ ชัก ซึมลง หมดสติ/โคม่า และ/หรือเสียชีวิตได้ เช็ค …สาเหตุของการปวดหัว โรคปวดศรีษะไมเกรน(Migraines) สาเหตุของอาการปวดศีรษะไมเกรนยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่การศึกษาทางการแพทย์เชื่อว่าเกิดจากการขยายตัวของหลอดเลือดในสมอง อย่างผิดปกติ ทำให้มีสารเคมีที่ทำให้มีอาการปวดเกิดขึ้นที่ปลายประสาทรับความรู้สึกในส่วนของหน้า และศีรษะ จึงทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ โรคปวดศรีษะจากความเครียด (Tension headache) สาเหตุก็มีหลายอย่าง เช่น ทำงานหนัก ใช้สมองมาก อารมณ์เครียด กังวลใจหรือ นอนหลับไม่เพียงพอ เป็นต้น ทำให้กล้ามเนื้อในร่างกายหดเกร็ง กระทบกับสมอง นำไปสู่อาการปวดหัว โรคปวดศรีษะแบบคลัสเตอร์(Cluster headache) เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ประสาทสมองที่ 5 ซึ่งทำให้ระบบการส่งฮอร์โมนและสารสื่อประสาทปรวนแปร ส่งผลกระทบให้ประสาทสัมผัสอัตโนมัติที่ควบคุมการทำงานของต่อมน้ำลาย ต่อมน้ำตา และน้ำมูกทำงานผิดปกติ รวมทั้งปล่อยสารเคมีบางชนิดไปที่เยื่อหุ้มสมองชั้นนอก (Dura) ทำให้เกิดอาการปวดหัวในเวลาต่อมา โรคปวดศรีษะจากแรงดันในสมองสูง(Increase Intracranial Pressure) สาเหตุจากการมีก้อน หรือสิ่งผิดปกติภายในสมอง เช่นเนื้องอกในสมอง เลือดออกในสมอง น้ำคั่งในสมอง หรือการติดเชื้อในสมอง ฯลฯ เช็ค …ยาที่ใช้รักษาอาการปวดหัว ตัวอย่างยารักษาอาการปวดหัวที่ใช้บ่อย ชื่อตัวยา ตัวอย่างชื่อยี่ห้อ กลไกการออกฤทธิ์ วิธีใช้ 1.Paracetamol พาราเซตามอล Tylenol ไทลินอล Sara ซาร่า บรรเทาปวดและลดไข้ โดยยับยั้งการสร้างสารเคมีบางตัวในสมองของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับอาการปวด เช่น สารโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) และจะชักนำให้เกิดกลไกการลดอุณหภูมิหรือลดไข้ของร่างกายลง เด็ก 10-15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ทุก 4-6 ชั่วโมง (หากจำเป็น) ไม่เกิน 5 ครั้งภายใน 24 ชั่วโมง ผู้ใหญ่ 500 มิลลิกรัม ทุก 4-6 ชั่วโมง ไม่เกิน 4,000 มิลลิกรัม ต่อวัน *ไม่ควรทานต่อเนื่องนานติดต่อกันเกิน 5 - 7 วัน 2. Ibuprofen ไอบูโปรเฟน Nurofen นูโรเฟน Gofen โกเฟน ยับยั้งการทำงานของสารไซโคลออกซิจีเนส (Cyclooxygenase)ซึ่งจะไปเปลี่ยนสารเคมีบางกลุ่มให้กลายเป็นสารโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) โพรสตาแกลนดินเป็นตัวชักนำให้เกิดอาการปวด การอักเสบ และก่อให้เกิดอาการไข้ของร่างกาย นอกจากนั้นไอบูโปรเฟนยังสามารถออกฤทธิ์โดยตรงที่สมองและบริเวณอวัยวะที่มีอาการปวดได้ เด็ก ให้รับประทานยาวันละ 30-50 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม โดยแบ่งให้ทุก 6 ชั่วโมง (สูงสุดไม่เกินวันละ 2,400 มิลลิกรัม) ผู้ใหญ่ ให้รับประทานยาครั้งละ 400-800 มิลลิกรัม วันละ 3-4 ครั้ง *ควรรับประทานพร้อมหรือหลังอาหารทันทีเพื่อลดการระคายเคืองในกระเพาะอาหาร เช็ค ... สมุนไพรที่ใช้รักษาอาการปวดหัว ใบมะยม กับสูตรแก้ปวดหัว นำใบมะยมที่เป็นใบแก่รวมกัน 1 กำมือ ต้มน้ำสะอาดกะตามต้องการ ใส่น้ำตาลกรวดอย่าให้หวานนัก ต้มจนเดือดแล้วดื่มต่างน้ำขณะอุ่นครั้งละ 1 แก้ว เช้า-เย็น ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ และก่อนนอน ทำดื่มเรื่อย ๆ จะช่วยให้ อาการปวดหัวที่เกิดจากสาเหตุดังกล่าว ทุเลาลงและหายในที่สุด เช็ค ... อาการปวดหัวที่ควรรีบพบแพทย์ ปวดหัวจนต้องตื่นขึ้นจากการนอน อาการปวดหัวะยังคงอยู่ต่อเนื่องอย่างน้อยตั้งแต่ 3 วันขึ้นไปและไม่ดีขึ้น มีอาการปวดหัวบ่อยขึ้นถี่ขึ้นกว่าเดิมมาก ลักษณะของอาการปวดหัวผิดปกติไปจากเดิมเช่น ปวดมากขึ้นต่อเนื่อง ไม่หาย ไปเมื่อกินยาแก้ปวดทั้งๆที่เคยกินยาแล้วดีขึ้น เมื่อมีอาการปวดหัวอย่างเฉียบพลันและรุนแรง ปวดหัวพร้อมกับมีอาการชักกระตุก ปวดหัวพร้อมกับสับสน และความรู้สึก (consciousness) เสียไป ปวดหัวพร้อมกับปวดตาและหู เช็ค ... การดูแลตัวเองเพื่อลดอาการปวดหัว จัดการเรื่องความเครียด รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ให้ความสนใจเกี่ยวกับท่าทางเวลายืนเดิน หรือนั่ง นอนหนุนหมอนไม่เกิน 2 ใบ นอนพักผ่อนให้เพียงพอ อ้างอิงจาก 1. http://haamor.com/th 2. MIMS Thailand . TIMS. 110th Ed 2008. 3. Analgesichttp://en.wikipedia.org/wiki/Analgesic 4. https://medthai.com/ 5. http://www.starclipnews.com/health_page/3527 6. http://www.siamhealth.net

บทความโดย นพ.สุพจน์ สุไพบูลย์พิพัฒน์ สำหรับคุณผู้หญิง ไม่ว่าจะอยู่ในวัยใดก็ตาม ถ้ามีเลือดออกจากช่องคลอดผิดปกติอาจพาลคิดไปว่าเป็นมะเร็ง ซึ่งไม่เสมอไป เพราะเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอดนั้นเกิดได้หลายสาเหตุ ฟรี ปรึกษาอาหารเสริม เครื่องสำอางและความงาม ตามหลักการแพทย์โดยเภสัชกร ได้ที่ Facebook : GURUCHECK เช็ค กับ กูรู เช็ค ...สาเหตุของเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด โดยสาเหตุของภาวะเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ที่พบมากที่สุด คือ ภาวะมีเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก ซึ่งแบ่งตามช่วงอายุได้ 3 ช่วงคือ 1.ช่วงก่อนมีประจำเดือน (premenarche) 2.ช่วงวัยเจริญพันธุ์ (reproductive-age) 3.ช่วงหลังวัยหมดประจำเดือน (postmenopausal) 1.เลือดออกทางช่องคลอดช่วงก่อนมีประจำเดือน หรือในเด็กๆ เลือดที่ออกทางช่องคลอดในเด็กหญิงก่อนมีประจำเดือนครั้งแรก อาจจะเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น 1.1 วัยรุ่นก่อนกำหนด คือ มีการเจริญเติบโตของลักษณะทางเพศก่อนอายุ 9 ปี เช่น เต้านมใหญ่ขึ้น มีขนที่รักแร้ และหัวหน่าว มีประจำเดือนมา เป็นต้น เลือดที่ออกทางช่องคลอดในเด็กหญิงที่มีอายุน้อยกว่า 9 ปี แต่ลักษณะทางเพศเปลี่ยนแปลงเป็นวัยสาวแล้ว ถือว่าเป็นเลือดประจำเดือนได้ แต่เป็นเลือดประจำเดือนที่เกิดในอายุน้อยกว่าที่ควร ซึ่งมักจะมีสาเหตุมาจากมะเร็งของรังไข่หรือต่อมหมวกไต เด็กหญิงที่มีประจำเดือนก่อนอายุอันควรจึงควรไปตรวจที่โรงพยาบาล เพื่อหาดูว่ามีสาเหตุที่ผิดปกติหรือไม่ ถ้ามีจะได้รักษาให้หายขาดแต่เนิ่นๆ 1.2 การบาดเจ็บบริเวณอวัยวะเพศภายนอก เช่น หกล้มก้น เป็นต้น 1.3 สิ่งแปลกปลอมในช่องคลอด เด็กเล็กๆ มักจะซุกซนและชอบสอดและดันสิ่งต่างๆเข้าไปในช่องคลอดทำให้เกิดการอักเสบได้ 1.4 ปัสสาวะเป็นเลือด หลายครั้งก็เกิดความเข้าใจผิดคิดว่าเลือดออกทางช่องคลอด 1.5 เนื้องอกหรือมะเร็งในช่องคลอดหรือมดลูก แต่เป็นสาเหตุที่พบน้อยในเด็ก 2.เลือดออกทางช่องคลอดในวัยเจริญพันธุ์ เลือดออกทางช่องคลอดในวัยเจริญพันธุ์ หลังจากประจำเดือนแรก จนถึงวัยที่กำลังหมดประจำเดือน เลือดอาจจะออกทางช่องคลอด โดยมีสาเหตุดังนี้ 2.1 ประจำเดือนผิดปกติ แบ่งเป็น 3 ลักษณะ ซึ่งแนะนำให้ไปพบแพทย์ ประจำเดือนมามากเกินไป ถ้าประจำเดือนมามากจนมีก้อนเลือดหรือลิ่มเลือดใหญ่ๆ ปนออกมา หรือใช้ผ้าอนามัยมากกว่า 10 ชิ้น และแต่ละชิ้นชุ่มเลือด ประจำเดือนมานานเกินกว่า 7 วันหรือกะปริดกะปรอย ประจำเดือนมาบ่อยเกินไป คือมีช่วงระหว่างประจำเดือนน้อยกว่า 21 วัน 2.2 ผู้หญิงอายุน้อยที่เกิดจากการตั้งครรภ์แล้วมีภาวะแทรกซ้อน เช่น แท้งบุตร 2.3 เลือดกลางเดือน หรือเลือดที่ออกจากช่องคลอดเพราะไข่ตก 2.4 เลือดที่ออกจากความผิดปกติของอวัยวะเพศ เช่น มดลูก คอ ปีกมดลูกอักเสบ เนื้องอก 2.5 เลือดที่ออกจากความผิดปกติของฮอร์โมนเพศ เช่น จากการกินยาคุมไม่สม่ำเสมอ หรือยาสมุนไพรที่ส่งผลกระทบต่อฮอร์โมน จะทำให้มีเลือดออกทางช่องคลอดได้ 2.6 ผู้หญิงในวัยที่เพิ่งเริ่มมีประจำเดือน เช่น อายุ 13 ปี หรือวัยใกล้หมดประจำเดือน เช่น อายุ 49 ปี มักมีภาวะฮอร์โมนแปรปรวน ซึ่งเป็นสาเหตุของเลือดออกผิดปกติ 2.7 ผู้หญิงที่อยู่ในภาวะเครียด เช่น ใกล้สอบ นอนดึก ทะเลาะกับแฟน ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้มีฮอร์โมนแปรปรวน ซึ่งเป็นสาเหตุของเลือดออกผิดปกติ 2.8 การติดเชื้อบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์สตรี เช่น ปากมดลูก หรือเยื่อบุโพรงมดลูก ก็สามารถทำให้เกิดแผลแล้วมีเลือดออกได้ 2.9 มะเร็งในอวัยวะสืบพันธุ์ เช่น มะเร็งปากมดลูก หรือมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้มีเลือดออกผิดปกติในผู้หญิงที่พบได้บ่อยเช่นกัน 3. เลือดออกทางช่องคลอดหลังวัยหมดประจำเดือน เกิดจากสาเหตุ เช่น 3.1 ประจำเดือนยังไม่หมดดี นั่นคือ ในวัยที่ประจำเดือนใกล้จะหมด ประจำเดือนอาจจะมาบ้างไม่มาบ้าง เนื้องอกหรือมะเร็งของคอมดลูก หรือมดลูก เป็นสาเหตุที่พบบ่อยอย่างหนึ่งของภาวะเลือดออกทางช่องคลอดหลังหมดประจำเดือนแล้ว 3.2 การกินยาปรับฮอร์โมนเพื่อลดอาการวัยทอง 3.3 ช่องคลอดอักเสบและบาง ในวัยหมดประจำเดือนผนังช่องคลอดจะบางและอักเสบง่าย ทำให้มีเลือดออกมาเล็กๆ น้อยๆ ได้ 3.4 การบาดเจ็บ เช่น หกล้ม เป็นต้น เช็ค ...อาการเลือดออกผิดปกติที่อาจเกิดจากมะเร็ง 1.มีเลือดออกจากช่องคลอดกระปริดกระปรอย เช่น มีเลือดออกทุกวันหรือวันเว้นวัน 2. มีรอบประจำเดือนเร็วกว่า 21 วัน 3. มีเลือดออกนอกรอบประจำเดือน 4.มีเลือดออกจากช่องคลอดปริมาณมากเป็นก้อน ๆ หรือใช้ผ้าอนามัยมากกว่าวันละ 5 ผืน 5. มีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ 6. มีเลือดออกหลังจากเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนไปแล้ว เช็ค ...การรักษาภาวะเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ผู้หญิงที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด แพทย์อาจตรวจภายในและตรวจหามะเร็งปากมดลูกไปพร้อมกัน โดยใช้เวลาตรวจไม่เกิน 5 นาที แต่ถ้าแพทย์ยังไม่สามารถหาสาเหตุของเลือดออกผิดปกติที่แน่ชัดได้ ก็อาจจำเป็นต้องขอส่งตรวจวิธีพิเศษ เช่น ตรวจเลือด ตรวจอัลตราซาวน์ด หรือถ้าจำเป็นจริง ๆ แพทย์ก็อาจขอขูดมดลูกเพื่อนำชิ้นเนื้อไปตรวจวินิจฉัยหาเซลล์มะเร็งต่อไป เช็ค ...การป้องกันภาวะเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด 1.รับประทานยา โดยเฉพาะยากลุ่มฮอร์โมนตามคำแนะนำของแพทย์และเภสัชกรอย่างเคร่งครัด และควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนานยาทุกครั้ง 2.รักษาสุขภาพให้แข็งแรง หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รักษาอารมณ์ให้แจ่มใส ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ 3.ผู้หญิงทุกคนที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว หรือผู้หญิงโสดที่มีอายุเกินกว่า 35 ปี ทุกคน ควรปรึกษาสูตินรีแพทย์เพื่อรับการตรวจภายในประจำปี อ้างอิง 1. รศ.นพ.พีรพงศ์ อินทศร. เลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด : สัญญาณอันตราย. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2560. จาก http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=665 2. น.พ.ธนัท จิรโชติชื่นทวีชัย อ.พ.ญ. ทวิวัน พันธศรี. ภาวะเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก(Abnormal uterine bleeding). สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2560. จาก http://www.med.cmu.ac.th/dept/obgyn/2011/index.php?option=com_content&view=article&id=959:abnormal-uterine-bleeding&catid=45&Itemid=561 3. ศ.นพ.สันต์ หัตถีรัตน์. การตรวจรักษาอาการ“เลือดออก” (10) เลือดออกทางช่องคลอด. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2560. จาก https://www.doctor.or.th/article/detail/3783 4. ศ.นพ.สันต์ หัตถีรัตน์ การตรวจรักษาอาการ “เลือดออก” (ตอน11). สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2560. จาก https://www.doctor.or.th/article/detail/3802

มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบอุบัติการณ์มาก อันดับแรกในหญิงไทยและหญิงทั่วโลก สามารถพบโรคนี้ ได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย จากการรณรงค์การตรวจ ปัจจุบันใช้การตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีการถ่ายภาพรังสีเต้านม (mammogram) ทำให้แพทย์ สามารถวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ระยะแรก บทความโดย นพ.สุพจน์ สุไพบูลย์พิพัฒน์ ฟรี ปรึกษาอาหารเสริม เครื่องสำอางและความงาม ตามหลักการแพทย์โดยเภสัชกร ได้ที่ Facebook : GURUCHECK เช็ค กับ กูรู เช็ค ...อาการของมะเร็งเต้านม พบก้อนที่เต้านมหรือที่รักแร้ บ่อยครั้งสาเหตุที่คนไข้มาหาหมอ มาจากก้อนที่เต้านมเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมา คือ อาการเจ็บเต้านม ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจซ้ำหรือส่งตรวจทางรังสีเพิ่มเติม ลักษณะเต้านมเปลี่ยนแปลงไป รูปทรงและขนาดของเต้านมเปลี่ยนไปจากเดิม อาจพบผิวหนังที่เต้านมบุ๋มลงไปคล้ายลักยิ้ม มีน้ำเหลืองหรือน้ำเลือดไหลออกจากหัวนม ลักษณะหัวนมที่เปลี่ยนแปลงไป สีหรือผิวหนังบริเวณลานหัวนมที่เปลี่ยนไปจากเดิม หัวนมที่เคยปกติกลายเป็นหัวนมบอด อาจเกิดจากมีก้อนเนื้อมะเร็งใต้หัวนม ที่ลุกลามไปที่ท่อน้ำนมและดึงรั้งหัวนมให้บุ๋มลง อาจมีแผลที่หัวนมและรอบหัวนม เจ็บผิดปกติที่เต้านมหรือที่รักแร้ เช็ค ...สาเหตุของมะเร็งเต้านม ในปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปแน่นอนถึงสาเหตุของมะเร็งเต้านม แต่พบปัจจัยเสี่ยงที่ส่งเสริมให้เกิดโรคได้มากขึ้น ดังนี้ อายุ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดต่อการเป็นมะเร็งเต้านม ยิ่งอายุมากขึ้นโดยผู้หญิงวัย 60 ปีขึ้นไป ยิ่งมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมสูง เพศ มะเร็งเต้านมจะพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย- พันธุกรรม มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่า 2 คน มีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้สูงกว่าผู้หญิงที่ไม่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งชนิดนี้ เคยมีประวัติเป็นมะเร็งเต้านมหรือซีสเต้านมชนิดที่เริ่มผิดปกติมาก่อน ผู้ป่วยที่เคยเป็นมะเร็งเต้านมข้างใดข้างหนึ่งมาก่อนมีโอกาสในพัฒนาการเกิดมะเร็งกับเต้านมอีกข้างมากขึ้น หรืออาจเกิดกับเต้านมข้างเดิมได้เช่นกัน มีช่วงอายุของการมีประจำเดือนนาน เริ่มมีประจำเดือนมาครั้งแรกตั้งแต่อายุยังน้อย และหมดประจำเดือนช้า(ผู้ที่มีประจำเดือนก่อนอายุ 12 ปี หรือหมดประจำเดือนหลังอายุ 55 ปี) เชื้อชาติ พบในคนเชื้อชาติในประเทศตะวันตกมากกว่าเอเชีย พฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปนเปื้อนกับสารเคมี หรือพฤติกรรมที่ทำร้ายสุขภาพ เช่น การสูบบุหรี่ ไม่ออกกำลังกาย กินอาหารไขมันสูง เป็นต้น การใช้ฮอร์โมนเพศหญิงทดแทนหลังหมดประจำเป็นเวลานาน เช็ค ...การวินิจฉัยมะเร็งเต้านม การวินิจฉัยด้วยตนเอง สามารถทำได้โดยการมองด้วยตาเปล่าเพื่อดูลักษณะที่ผิดปกติและการคลำ สามารถตรวจเช็คเต้านมด้วยตัวเองตั้งแต่อายุ 20 ปี ขึ้นไป โดยทำเป็นประจำทุกเดือน การวินิจฉัยโดยแพทย์ เมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไปควรเข้ารับการตรวจเต้านมที่โรงพยาบาล อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ซึ่งมีวิธีการตรวจดังนี้ วิธีที่ 1 การตรวจเต้านมโดยแพทย์หรือบุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรม วิธีที่ 2 การเอกซเรย์เต้านม หรือแมมโมแกรม(Mammogram) ร่วมกับอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound) วิธีที่ 3 การตรวจเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging, MRI) วิธีที่ 4 การเจาะชิ้นเนื้อ (Biopsy) เช็ค ...การรักษามะเร็งเต้านม ทางเลือกในการรักษามะเร็งเต้านมมีหลายวิธี ดังนี้ การผ่าตัด (Surgery) เป็นการรักษาที่แพทย์มักใช้กับผู้ป่วยมะเร็งในระยะเริ่มต้น โดยการผ่าตัดมี 2 วิธี คือ การผ่าตัดแบบสงวนเต้านมไว้ (Partial Mastectomy) และ การผ่าตัดแบบตัดเต้านมออก (Total Mastectomy) การฉายรังสี (Radiation Therapy) การรักษาด้วยเคมีบำบัด (Chemotherapy) การรักษาด้วยการให้ยาต้านฮอร์โมน เช็ค ...การป้องกัน มะเร็งเต้านม สาเหตุการเกิดมะเร็งเต้านมยังไม่แน่ชัด ดังนั้น ควรหมั่นสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายและปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังต่อไปนี้ ควรตรวจเต้านมของตนเองตั้งแต่ 20 ปีเป็นต้นไป และทำเป็นประจำทุกเดือน เมื่ออายุ 40 ปี ขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจเต้านมจากแพทย์หรือพยาบาลอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงควรเข้ารับการตรวจเอกซเรย์เต้านม ประมาณปีละ 1 ครั้ง ระวังเรื่องการได้รับฮอร์โมนติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยเฉพาะผู้ที่จำเป็นต้องได้รับฮอร์โมนเพศหญิงเสริม เช่น ผู้ที่มีปัญหาประจำเดือนหมดหรือการผ่าตัดไข่ออกก่อนเวลาอันควร หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม เช่น หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงสารเคมีที่เป็นโทษต่อร่างกาย เป็นต้น ออกกำลังกายสม่ำเสมอและควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน อ้างอิง 1. BREASTCANCER.ORG. Symptoms of Breast Cancer. Retrieved June 1, 2017, from http://www.breastcancer.org/symptoms/understand_bc/symptoms 2. รศ.นพ.อดุลย์ รัตนวิจิตราศิลป์. เมื่อไร! สงสัยว่าเป็นมะเร็งเต้านม. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2560. จาก http://www.si.mahidol.ac.th 3. BREASTCANCER.ORG. Breast Cancer Tests: Screening, Diagnosis and Monitoring. Retrieved June 1, 2017, from http://www.breastcancer.org/symptoms/testing/types 4.สถานวิทยามะเร็งศิริราช. การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเอง. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2560. จาก http://www.si.mahidol.ac.th/th/division/hph/admin/news_files/496_49_1.pdf 5. นพ.สาธิต ศรีมันทยามาศ. มะเร็งเต้านมกับความเข้าใจผิดที่ผู้หญิงต้องรู้. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2560. จาก https://www.bangkokhospital.com/wattanosoth/web/th/site/all_about_cancer/view/82 6. cancer.gov. (Breast Cancer Prevention (PDQ®)–Patient Version. Retrieved June 1, 2017, from https://www.cancer.gov/types/breast/patient/breast-prevention-pdq 7. ภรณี เหล่าอิทธิ นภา ปริญญานิติกูล. มะเรงเต้านม : ระบาดวิทยา การป้องกันและแนวทางการตรวจคัดกรอง สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2560. จากhttp://www.asianbiomed.org/htdocs/previous/201660497.pdf