SKIN FOOD
SkinFood Rose Essence Blush
Description
-
How to use
ใช้ปัดแก้ม
Ingredients
-
Suggestion
-
Benefit( ผลลัพธ์หลังการใช้ )
0.0 Vote(s)
1
0.0 Vote(s)
1
0.0 Vote(s)
1
0.0 Vote(s)
1
0.0 Vote(s)
1
0.0 Vote(s)
1
0.0 Vote(s)
1
0.0 Vote(s)
1
0.0 Vote(s)
1
Details Product
SkinFood Rose Essence Blush
บลัชออนเนื้อฝุ่นรุ่นกุหลาบยอดนิยม มาพร้อมกลิ่นกุหลาบหอมอ่อนๆ เนื้อและเม็ดสีแน่น ปัดแล้วสีติดทนนาน มาด้วยกัน 5 เฉดสีให้เลือก เหมาะกับทุกสภาพผิว หรือแม้แต่ผิวบอบบาง สามารถเลือกดูสีทั้ง 5 เฉดสีได้ตามรูปด้านล่างนี้
- บลัชออนรุ่นยอดนิยม
- สีสวยติดทนนาน
- ทำให้แก้มดูอมชมพูสุขภาพดี
- มีทั้งหมด 5 เฉดสี
you might also like

บทความโดย ภญ.เยาวธิดา เทพศิริ ฟรี ปรึกษาอาหารเสริม เครื่องสำอางและความงาม ตามหลักการแพทย์โดยเภสัชกร ได้ที่ Facebook : GURUCHECK เช็ค กับ กูรู เช็ค ...สัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณกำลังท้อง 1.ประจำเดือนขาด ในกรณีที่มีสุขภาพปกติ มีประวัติประจำเดือนที่ปกติ หากประจำเดือนขาดนานกว่า 10 วันขึ้นไปหรือประจำเดือนขาดนับจากประจำเดือนครั้งสุดท้ายมากกว่า 45 วัน อาจสันนิฐานว่าเกิดการตั้งครรภ์ได้ 2.มีความรู้สึกไวต่อกลิ่นต่าง ๆ ผู้หญิงที่เพิ่งตั้งครรภ์จะมีความไวต่อการรับกลิ่น โดยเฉพาะกลิ่นของอาหาร อาจทำให้รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียนได้ง่ายเมื่อได้กลิ่นต่าง ๆ มากระตุ้น 3.คลื่นไส้ อาเจียน เป็นอาการที่พบได้บ่อย ในผู้หญิงบางคนก็อาจไม่พบอาการนี้ในช่วงแรกจนกระทั่งเข้าสู่การตั้งครรภ์ในเดือนแรกหรือเดือนที่ 2 4.เจ็บหน้าอก เนื่องจากหน้าอกมีการขยายขนาดคล้ายกับในช่วงประจำเดือนมา เนื่องจากฮอร์โมนที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงการตั้งครรภ์ 5.ท้องอืด ท้องเฟ้อ การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนในขณะตั้งครรภ์ช่วงแรกอาจส่งผลให้เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อยขึ้นได้คล้าย ๆ กับช่วงก่อนประจำเดือนมา ช่วงนี้บางคนอาจรู้สึกเสื้อผ้าแน่นมากขึ้น 6.ปัสสาวะบ่อย การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนภายในร่างกาย ทำให้อัตราการไหลของเลือดเพิ่มขึ้นและไหลผ่านไปยังไตมากขึ้น ทำให้กระเพาะปัสสาวะรับน้ำมามากตามไปด้วย ผู้หญิงตั้งครรภ์จึงรู้สึกอยากเข้าห้องน้ำบ่อยกว่าปกติ 7.เหนื่อยง่าย เพลียง่าย สาเหตุเกิดจากระดับฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนอนมีระดับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงเกิดอาการแพ้ท้องร่วมด้วยทำให้เกิดอาการเพลียง่ายยิ่งกว่าเดิม 8.อารมณ์แปรปรวนง่าย เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย จึงทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวนได้ง่าย เช่น อารมณ์ดี เสียใจ หดหู่ กังวล ซึ่งการแสดงออกทางอารมณ์ในแต่ละคนจะแตกต่างกันออกไป สัญญาณเหล่านี้เป็นแค่อาการเบื้องต้น แต่อาจไม่สามารถบอกได้อย่างชัดเจนว่าเกิดการตั้งครรภ์หรือไม่ หากสงสัยว่าเกิดการตั้งครรภ์หรือไม่ แนะนำให้ใช้ชุดตรวจการตั้งครรภ์เพื่อทดสอบการตั้งครรภ์ เป็นการตรวจด้วยตนเองก่อนไปพบแพทย์ค่ะ อ้างอิงจาก 1.รองศาสตราจารย์นายแพทย์วิทยา ถิฐาพันธ์. อาการไม่สบายตอนท้อง…..เป็นอันตรายไหม?. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2560. จากhttp://www.si.mahidol.ac.th/th/department/obstretrics_gynecology/dept_article_detail.asp?a_id=424 2. Webmd. Pregnancy Symptoms. Retrieved June 12, 2017, from http://www.webmd.com/baby/guide/pregnancy-am-i-pregnant#1 3.American Pregnancy Association. Pregnancy symptoms—Early signs of pregnancy. Retrieved June 12, 2017, from http://www.americanpregnancy.org/gettingpregnant/earlypregnancysymptoms.html

เพื่อนๆเคยสงสัยไหมค่ะ ว่าพุงมาจากไหน จริงๆ แล้วพุงมีหลายแบบนะคะ ไปดูกันค่ะ ว่ามีแบบไหนบ้าง บทความโดย กูรูอ้อมมี้ ฟรี ปรึกษาอาหารเสริม เครื่องสำอางและความงาม ตามหลักการแพทย์โดยเภสัชกร ได้ที่ Facebook : GURUCHECK เช็ค กับ กูรู เช็ค ...คุณมีพุงแบบไหน? ภาพจาก Bellybreak.com 1.spare tyre tummy พุงนุ่มสะสมเป็นชั้นๆ เกิดจากชอบกินของหวาน ขาดการออกกำลังกาย หากงดกินจุบจิบ ลดแป้งลด น้ำตาล งดดื่มแอลกอฮอล์ งดเครื่องดื่มน้ำตาลสูงต่างๆ รับประทานผักสด อาหารสด ออกกำลังกายมากๆสม่ำเสมอ ก็จะช่วยได้ค่ะ 2.stress tummy มีพุงแข็งคล้ายท้องอืดยื่น ช่วงกะบังลม หรือ ใต้ลิ้นปี่ถึงสะดือ สาเหตุหลักเกิดจากคุณเป็นคนทำงานหนัก เอาจริงเอาจัง เครียด กินไม่เป็นเวลาจนระบบลำไส้ผิดปกติ ร่างกายผลิตคอร์ติซอล ที่ทำให้เกิดไขมันบริเวณหน้าท้องให้คลายความเครียด การรับทานอาหารตรงเวลา ไม่นอนดึก ลดคาเฟอีน ออกกำลังกายประเภทโยคะแทนคาดิโอหนักๆจะช่วยลดพุงประเภทนี้ได้ค่ะ 3.little pooch tummy ร่างกายทั่วไปผอม แต่มีพุงสะสมน้อยๆถึงมากช่วงท้องน้อย คุณอาจมีพุงน้อยๆทั้งๆที่เป็นคนแอคทีฟและออกกำลังกายเป็นประจำ แต่เป็นการออกกำลังกายท่าเดิมประจำ การซิทอัพผิดวิธีอาจทำให้กล้ามเนื้อสะสมยื่นได้ ลองเปลี่ยนพฤติกรรมก จากการทานอาหารเดิมๆซ้ำๆที่อาจทำให้ไขมันสะสมโดยไม่รู้ตัว เป็นอาหารเส้นใยสูงผักใบเขียวจะช่วยได้ค่ะ 4.mummy tummy พุงคุณแม่หลังคลอดมดลูกยังไม่เข้าอู่ คุณแม่หลังคลอด อย่าเพิ่งรีบร้อนออกกำลังกายให้ร่างกายเข้าที่ใน 2-3 เดือนนะคะ การออกกำลังกายประเภทเสริมความแข็งแรงกล้ามเนื้อท้องช่วงล่าง รับประทานไขมันที่ดีจากถั่ว มะกอก และ น้ำมันปลาอาจพักผ่อนเล็กน้อยตอนกลางวัน และยืดเส้นสายเล็กน้อยก่อนเข้านอนเพื่อช่วยให้ร่างกายเผาผลาญไขมันได้ดีขึ้นค่ะ 5.bloated tummy หน้าท้องแบนในตอนเช้า แต่ท้องอืด และ เกิดแก๊ส พุงป่องในตอนเย็น ให้ลองสังเกตอาหารที่กินแล้วอึดอัด เช่น พิซซ่า ขนมปัง เค้ก นม เนย ชีส ลองงดแล้วสังเกตว่าระบบย่อย ดีขึ้นรึป่าว ลองปรับเปลี่ยนไปทานอาหารย่อยง่าย เช่น ปลา ผัก รับประทานเป็นเวลามากขึ้น งดมื้อดึก ดื่มน้ำมากๆ และอาจเดินเล่นหลังอาหารเพื่อช่วยระบบย่อย ก็จะช่วยลดพุงแบบนี้ได้ค่ะ อ่านจบแล้วรีบดูพุงตัวเองกันเลย ใช่ไหมหละค่ะ ถ้ารู้แล้วว่าเป็นแบบไหนแล้วก็ลองแก้ไขตามนั้นเลยนะคะ

บทความโดย นพ.สุพจน์ สุไพบูลย์พิพัฒน์ สำหรับคุณผู้หญิง ไม่ว่าจะอยู่ในวัยใดก็ตาม ถ้ามีเลือดออกจากช่องคลอดผิดปกติอาจพาลคิดไปว่าเป็นมะเร็ง ซึ่งไม่เสมอไป เพราะเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอดนั้นเกิดได้หลายสาเหตุ ฟรี ปรึกษาอาหารเสริม เครื่องสำอางและความงาม ตามหลักการแพทย์โดยเภสัชกร ได้ที่ Facebook : GURUCHECK เช็ค กับ กูรู เช็ค ...สาเหตุของเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด โดยสาเหตุของภาวะเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ที่พบมากที่สุด คือ ภาวะมีเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก ซึ่งแบ่งตามช่วงอายุได้ 3 ช่วงคือ 1.ช่วงก่อนมีประจำเดือน (premenarche) 2.ช่วงวัยเจริญพันธุ์ (reproductive-age) 3.ช่วงหลังวัยหมดประจำเดือน (postmenopausal) 1.เลือดออกทางช่องคลอดช่วงก่อนมีประจำเดือน หรือในเด็กๆ เลือดที่ออกทางช่องคลอดในเด็กหญิงก่อนมีประจำเดือนครั้งแรก อาจจะเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น 1.1 วัยรุ่นก่อนกำหนด คือ มีการเจริญเติบโตของลักษณะทางเพศก่อนอายุ 9 ปี เช่น เต้านมใหญ่ขึ้น มีขนที่รักแร้ และหัวหน่าว มีประจำเดือนมา เป็นต้น เลือดที่ออกทางช่องคลอดในเด็กหญิงที่มีอายุน้อยกว่า 9 ปี แต่ลักษณะทางเพศเปลี่ยนแปลงเป็นวัยสาวแล้ว ถือว่าเป็นเลือดประจำเดือนได้ แต่เป็นเลือดประจำเดือนที่เกิดในอายุน้อยกว่าที่ควร ซึ่งมักจะมีสาเหตุมาจากมะเร็งของรังไข่หรือต่อมหมวกไต เด็กหญิงที่มีประจำเดือนก่อนอายุอันควรจึงควรไปตรวจที่โรงพยาบาล เพื่อหาดูว่ามีสาเหตุที่ผิดปกติหรือไม่ ถ้ามีจะได้รักษาให้หายขาดแต่เนิ่นๆ 1.2 การบาดเจ็บบริเวณอวัยวะเพศภายนอก เช่น หกล้มก้น เป็นต้น 1.3 สิ่งแปลกปลอมในช่องคลอด เด็กเล็กๆ มักจะซุกซนและชอบสอดและดันสิ่งต่างๆเข้าไปในช่องคลอดทำให้เกิดการอักเสบได้ 1.4 ปัสสาวะเป็นเลือด หลายครั้งก็เกิดความเข้าใจผิดคิดว่าเลือดออกทางช่องคลอด 1.5 เนื้องอกหรือมะเร็งในช่องคลอดหรือมดลูก แต่เป็นสาเหตุที่พบน้อยในเด็ก 2.เลือดออกทางช่องคลอดในวัยเจริญพันธุ์ เลือดออกทางช่องคลอดในวัยเจริญพันธุ์ หลังจากประจำเดือนแรก จนถึงวัยที่กำลังหมดประจำเดือน เลือดอาจจะออกทางช่องคลอด โดยมีสาเหตุดังนี้ 2.1 ประจำเดือนผิดปกติ แบ่งเป็น 3 ลักษณะ ซึ่งแนะนำให้ไปพบแพทย์ ประจำเดือนมามากเกินไป ถ้าประจำเดือนมามากจนมีก้อนเลือดหรือลิ่มเลือดใหญ่ๆ ปนออกมา หรือใช้ผ้าอนามัยมากกว่า 10 ชิ้น และแต่ละชิ้นชุ่มเลือด ประจำเดือนมานานเกินกว่า 7 วันหรือกะปริดกะปรอย ประจำเดือนมาบ่อยเกินไป คือมีช่วงระหว่างประจำเดือนน้อยกว่า 21 วัน 2.2 ผู้หญิงอายุน้อยที่เกิดจากการตั้งครรภ์แล้วมีภาวะแทรกซ้อน เช่น แท้งบุตร 2.3 เลือดกลางเดือน หรือเลือดที่ออกจากช่องคลอดเพราะไข่ตก 2.4 เลือดที่ออกจากความผิดปกติของอวัยวะเพศ เช่น มดลูก คอ ปีกมดลูกอักเสบ เนื้องอก 2.5 เลือดที่ออกจากความผิดปกติของฮอร์โมนเพศ เช่น จากการกินยาคุมไม่สม่ำเสมอ หรือยาสมุนไพรที่ส่งผลกระทบต่อฮอร์โมน จะทำให้มีเลือดออกทางช่องคลอดได้ 2.6 ผู้หญิงในวัยที่เพิ่งเริ่มมีประจำเดือน เช่น อายุ 13 ปี หรือวัยใกล้หมดประจำเดือน เช่น อายุ 49 ปี มักมีภาวะฮอร์โมนแปรปรวน ซึ่งเป็นสาเหตุของเลือดออกผิดปกติ 2.7 ผู้หญิงที่อยู่ในภาวะเครียด เช่น ใกล้สอบ นอนดึก ทะเลาะกับแฟน ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้มีฮอร์โมนแปรปรวน ซึ่งเป็นสาเหตุของเลือดออกผิดปกติ 2.8 การติดเชื้อบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์สตรี เช่น ปากมดลูก หรือเยื่อบุโพรงมดลูก ก็สามารถทำให้เกิดแผลแล้วมีเลือดออกได้ 2.9 มะเร็งในอวัยวะสืบพันธุ์ เช่น มะเร็งปากมดลูก หรือมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้มีเลือดออกผิดปกติในผู้หญิงที่พบได้บ่อยเช่นกัน 3. เลือดออกทางช่องคลอดหลังวัยหมดประจำเดือน เกิดจากสาเหตุ เช่น 3.1 ประจำเดือนยังไม่หมดดี นั่นคือ ในวัยที่ประจำเดือนใกล้จะหมด ประจำเดือนอาจจะมาบ้างไม่มาบ้าง เนื้องอกหรือมะเร็งของคอมดลูก หรือมดลูก เป็นสาเหตุที่พบบ่อยอย่างหนึ่งของภาวะเลือดออกทางช่องคลอดหลังหมดประจำเดือนแล้ว 3.2 การกินยาปรับฮอร์โมนเพื่อลดอาการวัยทอง 3.3 ช่องคลอดอักเสบและบาง ในวัยหมดประจำเดือนผนังช่องคลอดจะบางและอักเสบง่าย ทำให้มีเลือดออกมาเล็กๆ น้อยๆ ได้ 3.4 การบาดเจ็บ เช่น หกล้ม เป็นต้น เช็ค ...อาการเลือดออกผิดปกติที่อาจเกิดจากมะเร็ง 1.มีเลือดออกจากช่องคลอดกระปริดกระปรอย เช่น มีเลือดออกทุกวันหรือวันเว้นวัน 2. มีรอบประจำเดือนเร็วกว่า 21 วัน 3. มีเลือดออกนอกรอบประจำเดือน 4.มีเลือดออกจากช่องคลอดปริมาณมากเป็นก้อน ๆ หรือใช้ผ้าอนามัยมากกว่าวันละ 5 ผืน 5. มีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ 6. มีเลือดออกหลังจากเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนไปแล้ว เช็ค ...การรักษาภาวะเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ผู้หญิงที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด แพทย์อาจตรวจภายในและตรวจหามะเร็งปากมดลูกไปพร้อมกัน โดยใช้เวลาตรวจไม่เกิน 5 นาที แต่ถ้าแพทย์ยังไม่สามารถหาสาเหตุของเลือดออกผิดปกติที่แน่ชัดได้ ก็อาจจำเป็นต้องขอส่งตรวจวิธีพิเศษ เช่น ตรวจเลือด ตรวจอัลตราซาวน์ด หรือถ้าจำเป็นจริง ๆ แพทย์ก็อาจขอขูดมดลูกเพื่อนำชิ้นเนื้อไปตรวจวินิจฉัยหาเซลล์มะเร็งต่อไป เช็ค ...การป้องกันภาวะเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด 1.รับประทานยา โดยเฉพาะยากลุ่มฮอร์โมนตามคำแนะนำของแพทย์และเภสัชกรอย่างเคร่งครัด และควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนานยาทุกครั้ง 2.รักษาสุขภาพให้แข็งแรง หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รักษาอารมณ์ให้แจ่มใส ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ 3.ผู้หญิงทุกคนที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว หรือผู้หญิงโสดที่มีอายุเกินกว่า 35 ปี ทุกคน ควรปรึกษาสูตินรีแพทย์เพื่อรับการตรวจภายในประจำปี อ้างอิง 1. รศ.นพ.พีรพงศ์ อินทศร. เลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด : สัญญาณอันตราย. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2560. จาก http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=665 2. น.พ.ธนัท จิรโชติชื่นทวีชัย อ.พ.ญ. ทวิวัน พันธศรี. ภาวะเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก(Abnormal uterine bleeding). สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2560. จาก http://www.med.cmu.ac.th/dept/obgyn/2011/index.php?option=com_content&view=article&id=959:abnormal-uterine-bleeding&catid=45&Itemid=561 3. ศ.นพ.สันต์ หัตถีรัตน์. การตรวจรักษาอาการ“เลือดออก” (10) เลือดออกทางช่องคลอด. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2560. จาก https://www.doctor.or.th/article/detail/3783 4. ศ.นพ.สันต์ หัตถีรัตน์ การตรวจรักษาอาการ “เลือดออก” (ตอน11). สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2560. จาก https://www.doctor.or.th/article/detail/3802

มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบอุบัติการณ์มาก อันดับแรกในหญิงไทยและหญิงทั่วโลก สามารถพบโรคนี้ ได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย จากการรณรงค์การตรวจ ปัจจุบันใช้การตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีการถ่ายภาพรังสีเต้านม (mammogram) ทำให้แพทย์ สามารถวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ระยะแรก บทความโดย นพ.สุพจน์ สุไพบูลย์พิพัฒน์ ฟรี ปรึกษาอาหารเสริม เครื่องสำอางและความงาม ตามหลักการแพทย์โดยเภสัชกร ได้ที่ Facebook : GURUCHECK เช็ค กับ กูรู เช็ค ...อาการของมะเร็งเต้านม พบก้อนที่เต้านมหรือที่รักแร้ บ่อยครั้งสาเหตุที่คนไข้มาหาหมอ มาจากก้อนที่เต้านมเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมา คือ อาการเจ็บเต้านม ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจซ้ำหรือส่งตรวจทางรังสีเพิ่มเติม ลักษณะเต้านมเปลี่ยนแปลงไป รูปทรงและขนาดของเต้านมเปลี่ยนไปจากเดิม อาจพบผิวหนังที่เต้านมบุ๋มลงไปคล้ายลักยิ้ม มีน้ำเหลืองหรือน้ำเลือดไหลออกจากหัวนม ลักษณะหัวนมที่เปลี่ยนแปลงไป สีหรือผิวหนังบริเวณลานหัวนมที่เปลี่ยนไปจากเดิม หัวนมที่เคยปกติกลายเป็นหัวนมบอด อาจเกิดจากมีก้อนเนื้อมะเร็งใต้หัวนม ที่ลุกลามไปที่ท่อน้ำนมและดึงรั้งหัวนมให้บุ๋มลง อาจมีแผลที่หัวนมและรอบหัวนม เจ็บผิดปกติที่เต้านมหรือที่รักแร้ เช็ค ...สาเหตุของมะเร็งเต้านม ในปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปแน่นอนถึงสาเหตุของมะเร็งเต้านม แต่พบปัจจัยเสี่ยงที่ส่งเสริมให้เกิดโรคได้มากขึ้น ดังนี้ อายุ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดต่อการเป็นมะเร็งเต้านม ยิ่งอายุมากขึ้นโดยผู้หญิงวัย 60 ปีขึ้นไป ยิ่งมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมสูง เพศ มะเร็งเต้านมจะพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย- พันธุกรรม มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่า 2 คน มีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้สูงกว่าผู้หญิงที่ไม่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งชนิดนี้ เคยมีประวัติเป็นมะเร็งเต้านมหรือซีสเต้านมชนิดที่เริ่มผิดปกติมาก่อน ผู้ป่วยที่เคยเป็นมะเร็งเต้านมข้างใดข้างหนึ่งมาก่อนมีโอกาสในพัฒนาการเกิดมะเร็งกับเต้านมอีกข้างมากขึ้น หรืออาจเกิดกับเต้านมข้างเดิมได้เช่นกัน มีช่วงอายุของการมีประจำเดือนนาน เริ่มมีประจำเดือนมาครั้งแรกตั้งแต่อายุยังน้อย และหมดประจำเดือนช้า(ผู้ที่มีประจำเดือนก่อนอายุ 12 ปี หรือหมดประจำเดือนหลังอายุ 55 ปี) เชื้อชาติ พบในคนเชื้อชาติในประเทศตะวันตกมากกว่าเอเชีย พฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปนเปื้อนกับสารเคมี หรือพฤติกรรมที่ทำร้ายสุขภาพ เช่น การสูบบุหรี่ ไม่ออกกำลังกาย กินอาหารไขมันสูง เป็นต้น การใช้ฮอร์โมนเพศหญิงทดแทนหลังหมดประจำเป็นเวลานาน เช็ค ...การวินิจฉัยมะเร็งเต้านม การวินิจฉัยด้วยตนเอง สามารถทำได้โดยการมองด้วยตาเปล่าเพื่อดูลักษณะที่ผิดปกติและการคลำ สามารถตรวจเช็คเต้านมด้วยตัวเองตั้งแต่อายุ 20 ปี ขึ้นไป โดยทำเป็นประจำทุกเดือน การวินิจฉัยโดยแพทย์ เมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไปควรเข้ารับการตรวจเต้านมที่โรงพยาบาล อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ซึ่งมีวิธีการตรวจดังนี้ วิธีที่ 1 การตรวจเต้านมโดยแพทย์หรือบุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรม วิธีที่ 2 การเอกซเรย์เต้านม หรือแมมโมแกรม(Mammogram) ร่วมกับอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound) วิธีที่ 3 การตรวจเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging, MRI) วิธีที่ 4 การเจาะชิ้นเนื้อ (Biopsy) เช็ค ...การรักษามะเร็งเต้านม ทางเลือกในการรักษามะเร็งเต้านมมีหลายวิธี ดังนี้ การผ่าตัด (Surgery) เป็นการรักษาที่แพทย์มักใช้กับผู้ป่วยมะเร็งในระยะเริ่มต้น โดยการผ่าตัดมี 2 วิธี คือ การผ่าตัดแบบสงวนเต้านมไว้ (Partial Mastectomy) และ การผ่าตัดแบบตัดเต้านมออก (Total Mastectomy) การฉายรังสี (Radiation Therapy) การรักษาด้วยเคมีบำบัด (Chemotherapy) การรักษาด้วยการให้ยาต้านฮอร์โมน เช็ค ...การป้องกัน มะเร็งเต้านม สาเหตุการเกิดมะเร็งเต้านมยังไม่แน่ชัด ดังนั้น ควรหมั่นสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายและปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังต่อไปนี้ ควรตรวจเต้านมของตนเองตั้งแต่ 20 ปีเป็นต้นไป และทำเป็นประจำทุกเดือน เมื่ออายุ 40 ปี ขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจเต้านมจากแพทย์หรือพยาบาลอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงควรเข้ารับการตรวจเอกซเรย์เต้านม ประมาณปีละ 1 ครั้ง ระวังเรื่องการได้รับฮอร์โมนติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยเฉพาะผู้ที่จำเป็นต้องได้รับฮอร์โมนเพศหญิงเสริม เช่น ผู้ที่มีปัญหาประจำเดือนหมดหรือการผ่าตัดไข่ออกก่อนเวลาอันควร หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม เช่น หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงสารเคมีที่เป็นโทษต่อร่างกาย เป็นต้น ออกกำลังกายสม่ำเสมอและควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน อ้างอิง 1. BREASTCANCER.ORG. Symptoms of Breast Cancer. Retrieved June 1, 2017, from http://www.breastcancer.org/symptoms/understand_bc/symptoms 2. รศ.นพ.อดุลย์ รัตนวิจิตราศิลป์. เมื่อไร! สงสัยว่าเป็นมะเร็งเต้านม. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2560. จาก http://www.si.mahidol.ac.th 3. BREASTCANCER.ORG. Breast Cancer Tests: Screening, Diagnosis and Monitoring. Retrieved June 1, 2017, from http://www.breastcancer.org/symptoms/testing/types 4.สถานวิทยามะเร็งศิริราช. การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเอง. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2560. จาก http://www.si.mahidol.ac.th/th/division/hph/admin/news_files/496_49_1.pdf 5. นพ.สาธิต ศรีมันทยามาศ. มะเร็งเต้านมกับความเข้าใจผิดที่ผู้หญิงต้องรู้. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2560. จาก https://www.bangkokhospital.com/wattanosoth/web/th/site/all_about_cancer/view/82 6. cancer.gov. (Breast Cancer Prevention (PDQ®)–Patient Version. Retrieved June 1, 2017, from https://www.cancer.gov/types/breast/patient/breast-prevention-pdq 7. ภรณี เหล่าอิทธิ นภา ปริญญานิติกูล. มะเรงเต้านม : ระบาดวิทยา การป้องกันและแนวทางการตรวจคัดกรอง สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2560. จากhttp://www.asianbiomed.org/htdocs/previous/201660497.pdf

บทความโดย ภญ.เยาวธิดา เทพศิริ การตั้งครรภ์ใช้ระยะเวลาทั้งหมด 9 เดือน (40 สัปดาห์ หรือ 280 วัน แต่อาจยาวนานถึง 42 สัปดาห์หรือ 294 วัน) สามารถแบ่งช่วงเวลาของการตั้งครรภ์ออกเป็น 3 ไตรมาส ดังนี้ 1.ไตรมาส 1 หรือ ไตรมาสแรก 2.ไตรมาส 2 3.ไตรมาส 3 หรือ ไตรมาสสุดท้าย ฟรี ปรึกษาอาหารเสริม เครื่องสำอางและความงาม ตามหลักการแพทย์โดยเภสัชกร ได้ที่ Facebook : GURUCHECK เช็ค กับ กูรู เช็ค...พัฒนาการทารกในครรภ์ และอาการผิดปกติของคุณแม่ขณะตั้งครรภ์ 1.ไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ (เดือนที่ 1-3) พัฒนาการของทารกไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์จะเริ่มมีการพัฒนาของตา หู หน่อหรือตุ่มฟัน นิ้วมือ นิ้วเท้า และอวัยวะ ที่จำเป็นในการดำเนินชีวิต เช่น หัวใจ สมอง ตับ ไต ทารกจะเริ่มมีการพัฒนาของอวัยวะเพศซึ่งจะปรากฏให้เห็นลักษณะของเพศในช่วงท้ายของไตรมาสแรก ความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับคุณแม่ช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ เลือดออก - อาจพบอาการเลือดออกเล็กน้อยจากช่องคลอดในช่วงนี้ เนื่องมาจากการฝังตัวของตัวอ่อนในโพรงมดลูก แต่ปริมาณเลือดจะน้อยกว่าประจำเดือนปกติมาก หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า เลือดล้างหน้าเด็ก ท้องผูก - ช่วงนี้จะมีระดับฮอร์โมนโปรเจสเทอโรนที่สูงขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อลำไส้ที่ช่วยในการเคลื่อนตัวของอาหารไปยังลำไส้เล็กทำงานได้ช้าลง อาหารจึงตกค้างในลำไส้นาน ทำให้ ถ่ายออกได้ยาก ตกขาว - หญิงตั้งครรภ์มักจะมีตกขาวมากกว่าปกติ เกิดจากฮอร์โมนเพศหญิงที่มีสูงขึ้น ซึ่งตกขาวปกติจะมีลักษณะเป็นเมือกใสหรือขาวขุ่น ไม่มีกลิ่น ในกรณีที่ตกขาวมีสีเปลี่ยนไป มีกลิ่นเหม็นบูดควรปรึกษาแพทย์ คลื่นไส้อาเจียน - เป็นอาการแพ้ท้องที่พบได้มากถึง 85% อาการแพ้ท้องจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละคน บางคนอาจเป็นมากน้อยไม่เท่ากัน น้ำหนักขึ้น - อาจมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นได้เล็กน้อย แตกต่างกันไปในแต่ละคน อาการแสบร้อนทรวงอก - ร่างกายมีระดับฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนที่สูงขึ้นทำให้กล้ามเนื้อหูรูดบริเวณหลอดอาหารคลายตัว ส่งผลให้ปิดกั้นอาหารหรือกรดได้ไม่สนิท จึงอาจเกิดไหลย้อนกลับเข้าไปในหลอดอาหาร ทำให้เกิดอาการแสบร้อนบริเวณทรวงอกได้ 2. ไตรมาส 2 ของการตั้งครรภ์ (เดือนที่ 4-6) พัฒนาการของทารกไตรมาส 2 ของการตั้งครรภ์ กระดูกของทารกจะเริ่มมีความแข็งเพิ่มขึ้น หูก็จะพัฒนาจนมีลักษณะเป็นหูที่ชัดเจน เริ่มมีขนเล็กๆเกิดขึ้นตามลำตัว ทารกจะเริ่มได้ยินบทสนทนาเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 22 สัปดาห์ และ จะเริ่มฝึกหายใจเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 24 สัปดาห์ ทารกตอบสนองต่อการสัมผัสท้องจากภายนอก ความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับคุณแม่ช่วงไตรมาส 2 ของการตั้งครรภ์ ปวดหลัง -เนื่องจากน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้นทำให้ส่งผลต่อร่างกาย หน้าอกขยายใหญ่ขึ้น - เต้านมจะเริ่มมีการขยายใหญ่มากขึ้น เพื่อช่วยรองรับการให้นมแก่ทารก เลือดออกตามไรฟัน - เกิดจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนของร่างกายจะทำให้มีเลือดมาเลี้ยงบริเวณเหงือกมากกว่าปกติ ส่งผลให้เหงือกบวมและเลือดออกได้ เลือดกำเดาไหล - เกิดการขยายตัวของหลอดเลือดและเส้นเลือดมาเลี้ยงเพิ่มขึ้น การกระทบกระเทือนเล็กน้อยอาจทำให้เกิดอาการเลือดกำเดาไหลได้ง่ายขึ้นกว่าปกติ ผิวแตกลาย - ผิวหนังตามร่างกายเกิดการขยายตัว โดยเฉพาะบริเวณหน้าท้อง ลานนม แขนขา และอาจมีการผลิตเม็ดสีที่มากขึ้น เช่น ใบหน้าเกิดฝ้า หน้าท้องมีเส้นคล้ำ ลานนมและหัวนมมีสีคล้ำขึ้น ลูกดิ้น - ประมาณสัปดาห์ที่ 16-18 คุณแม่จะรู้สึกได้ว่าลูกดิ้น ทำให้มีการกระตุกหรือเกร็งเล็กน้อยบริเวณท้อง 3. ไตรมาส 3 ของการตั้งครรภ์ (เดือนที่ 7-9) พัฒนาการของทารกไตรมาส 3 ของการตั้งครรภ์ ทารกดิ้นบ่อยขึ้น และมีการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นได้ดี เช่น เสียง แสง ต่างๆ อวัยวะภายในจะมีการพัฒนาอย่างสมบูรณ์ ทารกกระพริบตา ปิดตา หันศีรษะได้ กำและแบมือได้ดี ทารกจะมีการหมุนและอยู่ในท่าที่เตรียมพร้อมที่จะคลอดโดยศีรษะทารกจะเคลื่อนเข้าสู่อุ้งเชิงกรานและมักจะอยู่ในท่าคว่ำหน้า ความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับคุณแม่ช่วงไตรมาส 3 ของการตั้งครรภ์ เจ็บท้องหลอก - เป็นอาการเจ็บท้องจากการหดรัดตัวของมดลูกสำหรับคนตั้งครรภ์เพื่อเตรียมตัวสำหรับการคลอด ความรู้สึกจะคล้ายกับการเจ็บครรภ์จะคลอดจริง ๆ แต่จะเจ็บน้อยกว่า ริดสีดวงทวาร - เส้นเลือดจะมีการขยายตัวเพื่อนำเลือดไปเลี้ยงทารกได้มากขึ้นและน้ำหนักตัวคุณแม่ที่เพิ่มแรงดันในร่างกายมากขึ้น จึงทำให้เส้นบริเวณทวารหนักเกิดการขยาย บวม หรือเกิดเส้นเลือดขอดจนกลายเป็นริดสีดวงทวาร หายใจสั้น - เมื่อมดลูกเกิดการขยายตัว ดันอวัยวะด้านบนให้ขยับขึ้นไป ทำให้ปอดเหลือที่น้อยลง ไม่สามารถขยายตัวได้เต็มที่ ทำให้เกิดการหายใจได้ลำบาก ตัวบวม - เกิดการบวม เนื่องจากมีปริมาณน้ำสะสมตามเนื้อเยื่อมากกว่าปกติ อ้างอิงจาก 1.อ.พญ.สุชยา ลือวรรณ. การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาในสตรีตั้งครรภ์.สืบค้นเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2560. จากhttp://www.med.cmu.ac.th/dept/obgyn/2011/index.php?option=com_content&view=article&id=1087:2015-02-22-11-39-05&catid=38&Itemid=480 2. The American Congress of Obstetricians and Gynecologists . How your baby grows during pregnancy. Retrieved June 12, 2017, from http://www.acog.org/Patients/FAQs/Prenatal-Development-How-Your-Baby-Grows-During-Pregnancy 3. Webmd . First Trimester of Pregnancy. Retrieved June 12, 2017, from http://www.webmd.com/baby/guide/first-trimester-of-pregnancy#1 4. Webmd. Second Trimester of Pregnancy. Retrieved June 12, 2017, from