Body Series
Sunplay Super Block Clear Finish SPF130 PA+++

Description
• สามารถป้องกันอันตรายจากแสงแดดทั้งรังสี UVA และ UVB ได้สูงสุด 130 เท่า • เทคโนโลยีสูตรน้ำ ทำให้เนื้อครีมโปร่งแสง บางเบา ไม่เหนียวเหนอะหนะ แต่ปกป้องเต็มประสิทธิภาพ • ป้องกันน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ • ช่วยป้องกันริ้วรอยจากแสงแดด ก่อนวัย • อ่อนโยน ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง ใช้ได้ทั้งผิวหน้าและผิวกาย
How to use
-
Ingredients
-
Suggestion
-
Benefit( ผลลัพธ์หลังการใช้ )
0.0 Vote(s)
11
0.0 Vote(s)
11
0.0 Vote(s)
11
0.0 Vote(s)
11
0.0 Vote(s)
11
0.0 Vote(s)
11
0.0 Vote(s)
11
0.0 Vote(s)
11
0.0 Vote(s)
11
0.0 Vote(s)
11
0.0 Vote(s)
11
Details Product
เทคโนโลยีที่ใช้ในกันแดดรุ่นนี้คือ SOLAREX-3
นวัตกรรมใหม่จาก Mentholatum ผสานการปกป้องผิวจากรังสี UV ด้วย 3 ประสิทธิภาพโดดเด่น
- Superior Photo Stable
เนื้อโลชั่นคงทนต่อแสง ช่วยปกป้องผิวจากรังสี UVA และ UVA ได้มากยิ่งขึ้น - RonaCare + Antileukine6
ช่วยลดเลือนริ้วรอยแห่งวัย ที่เกิดจากการทำร้ายของแสงแดดได้เป็นอย่างดี - Hyaluronic Acid
ช่วยเติมเต็มความชุ่มชื่น กักเก็บความชุ่มชื่นไว้ภายใน ให้ผิวเนียนนุ่มยาวนา
you might also like

บทความโดย ภญ.เยาวธิดา เทพศิริ ฟรี ปรึกษาอาหารเสริม เครื่องสำอางและความงาม ตามหลักการแพทย์โดยเภสัชกร ได้ที่ Facebook : GURUCHECK เช็ค กับ กูรู เช็ค ...สัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณกำลังท้อง 1.ประจำเดือนขาด ในกรณีที่มีสุขภาพปกติ มีประวัติประจำเดือนที่ปกติ หากประจำเดือนขาดนานกว่า 10 วันขึ้นไปหรือประจำเดือนขาดนับจากประจำเดือนครั้งสุดท้ายมากกว่า 45 วัน อาจสันนิฐานว่าเกิดการตั้งครรภ์ได้ 2.มีความรู้สึกไวต่อกลิ่นต่าง ๆ ผู้หญิงที่เพิ่งตั้งครรภ์จะมีความไวต่อการรับกลิ่น โดยเฉพาะกลิ่นของอาหาร อาจทำให้รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียนได้ง่ายเมื่อได้กลิ่นต่าง ๆ มากระตุ้น 3.คลื่นไส้ อาเจียน เป็นอาการที่พบได้บ่อย ในผู้หญิงบางคนก็อาจไม่พบอาการนี้ในช่วงแรกจนกระทั่งเข้าสู่การตั้งครรภ์ในเดือนแรกหรือเดือนที่ 2 4.เจ็บหน้าอก เนื่องจากหน้าอกมีการขยายขนาดคล้ายกับในช่วงประจำเดือนมา เนื่องจากฮอร์โมนที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงการตั้งครรภ์ 5.ท้องอืด ท้องเฟ้อ การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนในขณะตั้งครรภ์ช่วงแรกอาจส่งผลให้เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อยขึ้นได้คล้าย ๆ กับช่วงก่อนประจำเดือนมา ช่วงนี้บางคนอาจรู้สึกเสื้อผ้าแน่นมากขึ้น 6.ปัสสาวะบ่อย การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนภายในร่างกาย ทำให้อัตราการไหลของเลือดเพิ่มขึ้นและไหลผ่านไปยังไตมากขึ้น ทำให้กระเพาะปัสสาวะรับน้ำมามากตามไปด้วย ผู้หญิงตั้งครรภ์จึงรู้สึกอยากเข้าห้องน้ำบ่อยกว่าปกติ 7.เหนื่อยง่าย เพลียง่าย สาเหตุเกิดจากระดับฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนอนมีระดับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงเกิดอาการแพ้ท้องร่วมด้วยทำให้เกิดอาการเพลียง่ายยิ่งกว่าเดิม 8.อารมณ์แปรปรวนง่าย เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย จึงทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวนได้ง่าย เช่น อารมณ์ดี เสียใจ หดหู่ กังวล ซึ่งการแสดงออกทางอารมณ์ในแต่ละคนจะแตกต่างกันออกไป สัญญาณเหล่านี้เป็นแค่อาการเบื้องต้น แต่อาจไม่สามารถบอกได้อย่างชัดเจนว่าเกิดการตั้งครรภ์หรือไม่ หากสงสัยว่าเกิดการตั้งครรภ์หรือไม่ แนะนำให้ใช้ชุดตรวจการตั้งครรภ์เพื่อทดสอบการตั้งครรภ์ เป็นการตรวจด้วยตนเองก่อนไปพบแพทย์ค่ะ อ้างอิงจาก 1.รองศาสตราจารย์นายแพทย์วิทยา ถิฐาพันธ์. อาการไม่สบายตอนท้อง…..เป็นอันตรายไหม?. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2560. จากhttp://www.si.mahidol.ac.th/th/department/obstretrics_gynecology/dept_article_detail.asp?a_id=424 2. Webmd. Pregnancy Symptoms. Retrieved June 12, 2017, from http://www.webmd.com/baby/guide/pregnancy-am-i-pregnant#1 3.American Pregnancy Association. Pregnancy symptoms—Early signs of pregnancy. Retrieved June 12, 2017, from http://www.americanpregnancy.org/gettingpregnant/earlypregnancysymptoms.html

เพื่อนๆเคยสงสัยไหมค่ะ ว่าพุงมาจากไหน จริงๆ แล้วพุงมีหลายแบบนะคะ ไปดูกันค่ะ ว่ามีแบบไหนบ้าง บทความโดย กูรูอ้อมมี้ ฟรี ปรึกษาอาหารเสริม เครื่องสำอางและความงาม ตามหลักการแพทย์โดยเภสัชกร ได้ที่ Facebook : GURUCHECK เช็ค กับ กูรู เช็ค ...คุณมีพุงแบบไหน? ภาพจาก Bellybreak.com 1.spare tyre tummy พุงนุ่มสะสมเป็นชั้นๆ เกิดจากชอบกินของหวาน ขาดการออกกำลังกาย หากงดกินจุบจิบ ลดแป้งลด น้ำตาล งดดื่มแอลกอฮอล์ งดเครื่องดื่มน้ำตาลสูงต่างๆ รับประทานผักสด อาหารสด ออกกำลังกายมากๆสม่ำเสมอ ก็จะช่วยได้ค่ะ 2.stress tummy มีพุงแข็งคล้ายท้องอืดยื่น ช่วงกะบังลม หรือ ใต้ลิ้นปี่ถึงสะดือ สาเหตุหลักเกิดจากคุณเป็นคนทำงานหนัก เอาจริงเอาจัง เครียด กินไม่เป็นเวลาจนระบบลำไส้ผิดปกติ ร่างกายผลิตคอร์ติซอล ที่ทำให้เกิดไขมันบริเวณหน้าท้องให้คลายความเครียด การรับทานอาหารตรงเวลา ไม่นอนดึก ลดคาเฟอีน ออกกำลังกายประเภทโยคะแทนคาดิโอหนักๆจะช่วยลดพุงประเภทนี้ได้ค่ะ 3.little pooch tummy ร่างกายทั่วไปผอม แต่มีพุงสะสมน้อยๆถึงมากช่วงท้องน้อย คุณอาจมีพุงน้อยๆทั้งๆที่เป็นคนแอคทีฟและออกกำลังกายเป็นประจำ แต่เป็นการออกกำลังกายท่าเดิมประจำ การซิทอัพผิดวิธีอาจทำให้กล้ามเนื้อสะสมยื่นได้ ลองเปลี่ยนพฤติกรรมก จากการทานอาหารเดิมๆซ้ำๆที่อาจทำให้ไขมันสะสมโดยไม่รู้ตัว เป็นอาหารเส้นใยสูงผักใบเขียวจะช่วยได้ค่ะ 4.mummy tummy พุงคุณแม่หลังคลอดมดลูกยังไม่เข้าอู่ คุณแม่หลังคลอด อย่าเพิ่งรีบร้อนออกกำลังกายให้ร่างกายเข้าที่ใน 2-3 เดือนนะคะ การออกกำลังกายประเภทเสริมความแข็งแรงกล้ามเนื้อท้องช่วงล่าง รับประทานไขมันที่ดีจากถั่ว มะกอก และ น้ำมันปลาอาจพักผ่อนเล็กน้อยตอนกลางวัน และยืดเส้นสายเล็กน้อยก่อนเข้านอนเพื่อช่วยให้ร่างกายเผาผลาญไขมันได้ดีขึ้นค่ะ 5.bloated tummy หน้าท้องแบนในตอนเช้า แต่ท้องอืด และ เกิดแก๊ส พุงป่องในตอนเย็น ให้ลองสังเกตอาหารที่กินแล้วอึดอัด เช่น พิซซ่า ขนมปัง เค้ก นม เนย ชีส ลองงดแล้วสังเกตว่าระบบย่อย ดีขึ้นรึป่าว ลองปรับเปลี่ยนไปทานอาหารย่อยง่าย เช่น ปลา ผัก รับประทานเป็นเวลามากขึ้น งดมื้อดึก ดื่มน้ำมากๆ และอาจเดินเล่นหลังอาหารเพื่อช่วยระบบย่อย ก็จะช่วยลดพุงแบบนี้ได้ค่ะ อ่านจบแล้วรีบดูพุงตัวเองกันเลย ใช่ไหมหละค่ะ ถ้ารู้แล้วว่าเป็นแบบไหนแล้วก็ลองแก้ไขตามนั้นเลยนะคะ

มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบอุบัติการณ์มาก อันดับแรกในหญิงไทยและหญิงทั่วโลก สามารถพบโรคนี้ ได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย จากการรณรงค์การตรวจ ปัจจุบันใช้การตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีการถ่ายภาพรังสีเต้านม (mammogram) ทำให้แพทย์ สามารถวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ระยะแรก บทความโดย นพ.สุพจน์ สุไพบูลย์พิพัฒน์ ฟรี ปรึกษาอาหารเสริม เครื่องสำอางและความงาม ตามหลักการแพทย์โดยเภสัชกร ได้ที่ Facebook : GURUCHECK เช็ค กับ กูรู เช็ค ...อาการของมะเร็งเต้านม พบก้อนที่เต้านมหรือที่รักแร้ บ่อยครั้งสาเหตุที่คนไข้มาหาหมอ มาจากก้อนที่เต้านมเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมา คือ อาการเจ็บเต้านม ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจซ้ำหรือส่งตรวจทางรังสีเพิ่มเติม ลักษณะเต้านมเปลี่ยนแปลงไป รูปทรงและขนาดของเต้านมเปลี่ยนไปจากเดิม อาจพบผิวหนังที่เต้านมบุ๋มลงไปคล้ายลักยิ้ม มีน้ำเหลืองหรือน้ำเลือดไหลออกจากหัวนม ลักษณะหัวนมที่เปลี่ยนแปลงไป สีหรือผิวหนังบริเวณลานหัวนมที่เปลี่ยนไปจากเดิม หัวนมที่เคยปกติกลายเป็นหัวนมบอด อาจเกิดจากมีก้อนเนื้อมะเร็งใต้หัวนม ที่ลุกลามไปที่ท่อน้ำนมและดึงรั้งหัวนมให้บุ๋มลง อาจมีแผลที่หัวนมและรอบหัวนม เจ็บผิดปกติที่เต้านมหรือที่รักแร้ เช็ค ...สาเหตุของมะเร็งเต้านม ในปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปแน่นอนถึงสาเหตุของมะเร็งเต้านม แต่พบปัจจัยเสี่ยงที่ส่งเสริมให้เกิดโรคได้มากขึ้น ดังนี้ อายุ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดต่อการเป็นมะเร็งเต้านม ยิ่งอายุมากขึ้นโดยผู้หญิงวัย 60 ปีขึ้นไป ยิ่งมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมสูง เพศ มะเร็งเต้านมจะพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย- พันธุกรรม มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่า 2 คน มีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้สูงกว่าผู้หญิงที่ไม่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งชนิดนี้ เคยมีประวัติเป็นมะเร็งเต้านมหรือซีสเต้านมชนิดที่เริ่มผิดปกติมาก่อน ผู้ป่วยที่เคยเป็นมะเร็งเต้านมข้างใดข้างหนึ่งมาก่อนมีโอกาสในพัฒนาการเกิดมะเร็งกับเต้านมอีกข้างมากขึ้น หรืออาจเกิดกับเต้านมข้างเดิมได้เช่นกัน มีช่วงอายุของการมีประจำเดือนนาน เริ่มมีประจำเดือนมาครั้งแรกตั้งแต่อายุยังน้อย และหมดประจำเดือนช้า(ผู้ที่มีประจำเดือนก่อนอายุ 12 ปี หรือหมดประจำเดือนหลังอายุ 55 ปี) เชื้อชาติ พบในคนเชื้อชาติในประเทศตะวันตกมากกว่าเอเชีย พฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปนเปื้อนกับสารเคมี หรือพฤติกรรมที่ทำร้ายสุขภาพ เช่น การสูบบุหรี่ ไม่ออกกำลังกาย กินอาหารไขมันสูง เป็นต้น การใช้ฮอร์โมนเพศหญิงทดแทนหลังหมดประจำเป็นเวลานาน เช็ค ...การวินิจฉัยมะเร็งเต้านม การวินิจฉัยด้วยตนเอง สามารถทำได้โดยการมองด้วยตาเปล่าเพื่อดูลักษณะที่ผิดปกติและการคลำ สามารถตรวจเช็คเต้านมด้วยตัวเองตั้งแต่อายุ 20 ปี ขึ้นไป โดยทำเป็นประจำทุกเดือน การวินิจฉัยโดยแพทย์ เมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไปควรเข้ารับการตรวจเต้านมที่โรงพยาบาล อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ซึ่งมีวิธีการตรวจดังนี้ วิธีที่ 1 การตรวจเต้านมโดยแพทย์หรือบุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรม วิธีที่ 2 การเอกซเรย์เต้านม หรือแมมโมแกรม(Mammogram) ร่วมกับอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound) วิธีที่ 3 การตรวจเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging, MRI) วิธีที่ 4 การเจาะชิ้นเนื้อ (Biopsy) เช็ค ...การรักษามะเร็งเต้านม ทางเลือกในการรักษามะเร็งเต้านมมีหลายวิธี ดังนี้ การผ่าตัด (Surgery) เป็นการรักษาที่แพทย์มักใช้กับผู้ป่วยมะเร็งในระยะเริ่มต้น โดยการผ่าตัดมี 2 วิธี คือ การผ่าตัดแบบสงวนเต้านมไว้ (Partial Mastectomy) และ การผ่าตัดแบบตัดเต้านมออก (Total Mastectomy) การฉายรังสี (Radiation Therapy) การรักษาด้วยเคมีบำบัด (Chemotherapy) การรักษาด้วยการให้ยาต้านฮอร์โมน เช็ค ...การป้องกัน มะเร็งเต้านม สาเหตุการเกิดมะเร็งเต้านมยังไม่แน่ชัด ดังนั้น ควรหมั่นสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายและปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังต่อไปนี้ ควรตรวจเต้านมของตนเองตั้งแต่ 20 ปีเป็นต้นไป และทำเป็นประจำทุกเดือน เมื่ออายุ 40 ปี ขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจเต้านมจากแพทย์หรือพยาบาลอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงควรเข้ารับการตรวจเอกซเรย์เต้านม ประมาณปีละ 1 ครั้ง ระวังเรื่องการได้รับฮอร์โมนติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยเฉพาะผู้ที่จำเป็นต้องได้รับฮอร์โมนเพศหญิงเสริม เช่น ผู้ที่มีปัญหาประจำเดือนหมดหรือการผ่าตัดไข่ออกก่อนเวลาอันควร หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม เช่น หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงสารเคมีที่เป็นโทษต่อร่างกาย เป็นต้น ออกกำลังกายสม่ำเสมอและควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน อ้างอิง 1. BREASTCANCER.ORG. Symptoms of Breast Cancer. Retrieved June 1, 2017, from http://www.breastcancer.org/symptoms/understand_bc/symptoms 2. รศ.นพ.อดุลย์ รัตนวิจิตราศิลป์. เมื่อไร! สงสัยว่าเป็นมะเร็งเต้านม. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2560. จาก http://www.si.mahidol.ac.th 3. BREASTCANCER.ORG. Breast Cancer Tests: Screening, Diagnosis and Monitoring. Retrieved June 1, 2017, from http://www.breastcancer.org/symptoms/testing/types 4.สถานวิทยามะเร็งศิริราช. การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเอง. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2560. จาก http://www.si.mahidol.ac.th/th/division/hph/admin/news_files/496_49_1.pdf 5. นพ.สาธิต ศรีมันทยามาศ. มะเร็งเต้านมกับความเข้าใจผิดที่ผู้หญิงต้องรู้. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2560. จาก https://www.bangkokhospital.com/wattanosoth/web/th/site/all_about_cancer/view/82 6. cancer.gov. (Breast Cancer Prevention (PDQ®)–Patient Version. Retrieved June 1, 2017, from https://www.cancer.gov/types/breast/patient/breast-prevention-pdq 7. ภรณี เหล่าอิทธิ นภา ปริญญานิติกูล. มะเรงเต้านม : ระบาดวิทยา การป้องกันและแนวทางการตรวจคัดกรอง สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2560. จากhttp://www.asianbiomed.org/htdocs/previous/201660497.pdf